ภาษาอีสานมาใหม่ 15181 - 15190 จาก 17431

  • แกล้ง
    แปลว่า : จงใจทำ, แสร้งทำ ไม่อยากทำแต่แสร้งทำ เรียก แกล้งเฮ็ด อย่างว่า พาโลนี้พางานสอนยาก เป็นดั่งไม้ท่อนฮ้ายตีขี้ใส่โต (ภาษิต).
  • แก้ม
    แปลว่า : เนื้อหน้าทั้งสองข้าง ใต้ตาลงมาเรียก แก้ม แก้มอูม เรียก แกมเพ้า แก้มตอบ เรียก แก้มโวก แก้มไม่สะอาดเรียก แก้มปุยลุ่ย
  • แก่ม
    แปลว่า : เกาะกิน, อาศัยกิน, สิ้นเปลืองคนที่อาศัยเกาะคนอื่นกิน เหมือนปลิงคอยดูดกินเลือด เรียก แก่ม อย่างว่า บ่มักน้องบ่เตื้องเปลืองเว้าแก่มกิน (เวส-กลอน) เหลียวเห็นหน้าแซมแลมย้านแต่แก่ม ความกินบ่แก่มเจ้า ความเว้าแก่มซู่คน (ภาษิต).
  • แกม
    แปลว่า : ปน, ระคน, คละ อย่างว่า บัดนี้วางเอาไว้หนีไปแกมเพื่อน (กา) ชายก็ให้เป็นชายแท้ อย่าแกมแกหินแฮ่ ญิงกะญิงแท้แท้แนแล้วจั่งยิง อย่าได้ยิงเสียถิ้มยิงเสียเปล่า ให้เอาหน้องแต้มเสียแล้วจั่งยิง (ภาษิต).
  • แก่นหล้อน
    แปลว่า : ไม้เนื้อแข็ง ต้นปลาย เปลือกหลุด เหลือแต่แก่นเรียก ไม้แก่นหล้อน ผู้ทรงศีลทรงธรรมเรียก แก่นคน อย่างว่า นึกว่าตอคะยูงแล้วแมวสีสันมาโค่น นึกว่าไม้แก่นหล้อน สังมาปิ้นป่งใบ (กลอน).
  • แก่นสาร
    แปลว่า : สิ่งที่เป็นหลักฐาน นอกเหนือจากแก่นธรรมแล้วก็มีจารีตประเพณีและกฎหมายของบ้านเมือง เรียก แก่นสาร.
  • แก่นเมือง
    แปลว่า : เจ้าเมือง เจ้าเมืองเรียก แก่นเมือง อย่างว่า เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต).
  • แก่นธรรม
    แปลว่า : ธรรมที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนามี ๕ อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติญาณ ทัสสนะ ทั้ง ๕ นี้เรียก แก่นธรรม อย่างว่า เทียนธูปใต้ถวายบาทบูชา ยามเมื่อทำทานเสร็จชื่นบานเบาเนื้อ อันว่าสังโฆพร้อมยาครูสังฆราช ประสิทธิ์ประสาทให้พรแก้วแก่นธรรม (ย่า).
  • แก่นเท่า
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เนื้อแข็ง สีของใบคล้ายสีของขี้เถ้า เรียก ต้นแก่นเท่า
  • แก่นต้น
    แปลว่า : พ่อแม่หรือผู้เป็นใหญ่ในบ้านเมืองเรียก แก่นต้น อย่างว่า แม้นว่าการแก่นต้นตื้อติ่วหนาหนัก พี่จักอาสาขันขาดเองเอาได้ ชื่อว่าความทุกข์ส้มถมนาในโลก พี่บ่ให้ฮุ่งฮู้ความฮ้อนฮอดอวน พี่แล้ว (สังข์)