ภาษาอีสานมาใหม่ 15371 - 15380 จาก 17431

  • กุญชรราช
    แปลว่า : พระยาช้าง พระยาช้างเรียก กุญชรราช อย่างว่า ฟังยินเสียงกรนก้องพระมุณเทียรทีโทด คือคู่กุญชรราชฮ้องเสียงก้องดั่งบน แท้แล้ว (สังข์).
  • กุญชร
    แปลว่า : ช้าง (ป.) ช้างตัวผู้เรียก ช้างพลาย ช้างตัวเมียเรียก ช้างพัง อย่างว่า กุญชรช้างพลายสารเกิดอยู่ป่า ยังได้มาอยู่บ้านเมืองกว้างกล่อมขุน กุญชรช้างอัศดรคุณมาก ก็หายากแท้ทั่งค้ายบ่มี ส่วนว่ายูงยองฮิ้นฝูงไฮเฮือดใต่ บ่ห่อนขี้ไฮ้หาได้คู่เฮือน (ย่า).
  • กุญแจ
    แปลว่า : ลิ่มไลโบราณเรียก กุญแจ กะแจ ก็ว่า อย่างว่า บาก็ทวยมือม้างกระดานหนาหนักหมื่น ศรเสียบล้ำกระแจฟ้งหลูดไล (สังข์).
  • กุจฉินารายณ์
    แปลว่า : ชื่อเมืองสมัยโบราณเมืองหนึ่งในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ปัจจุบันเรียก อำเภอกุฉินารายณ์.
  • กุโงก
    แปลว่า : นกยูง ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งขนงามเป็นสีเลื่อม ขนหางเป็นแวว เรียก กุโงก ยกยูง ก็ว่า อย่างว่า ฟังยินกุโงกฮ้องเฮียงแม่มยุรา พุ้นเยอ (สังข์).
  • กุ้ง
    แปลว่า : คนหลังคดเรียก คนหลังกุ้ง คนคดในข้องอในกระดูก โบราณเปรียบเหมือน กุ้ง อย่างว่า อัศจรรย์ใจกุ้งกุมกินปลาบึกใหญ่ ปลาซิวไล่แข้หนีไปซ้นหลืบหีน เอี่ยนเปิดน้ำหนีจากวังตม มันไปแปลงฮวงฮังอยู่เทิงปลายไม้ (ปัญหา).
  • กุง
    แปลว่า : ไม้พลวง ชื่อพรรณไม้ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นกุง.
  • กุกรรม
    แปลว่า : ความชั่วที่ทำด้วยกายวาจาและใจเรียก กุกรรม อย่างว่า ความชั่วที่ได้ทำในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (สวดมนต์).
  • กุ๊กกุ๊ก
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงคนเรียกไก่มากินอาหาร หรือเสียงไก่เรียกลูกไก่มากินอาหาร.
  • กุกกวน
    แปลว่า : รบกวน การทำให้ได้รับความรำคาญเรียก กุกกวน เช่น ลูกร้องไห้อยากกินนมแม่ แต่แม่ไม่อยากให้กิน อย่างว่าเขาพากันไห้กุกกวนอวนแอ่ว ขอเหนี่ยวเจ้าอมจู้ดูดดม (กา).