ภาษาอีสานมาใหม่ 15351 - 15360 จาก 17431

  • กุ้ม
    แปลว่า : กองข้าวเปลือก ข้าวเปลือกที่ตีแล้วกองไว้ในลาน เรียก กุ้มเข้า ชาวอีสานเมื่อเสร็จจากทำนาแล้ว จะเอาข้าวเปลือกมารวมกันทำบุญ เรียก บุญกุ้มเข้าใหญ่.
  • กุ่ม
    แปลว่า : ชื่อปลามีเกล็ดชนิดหนึ่ง คล้ายปลาตะเพียน แต่เล็กกว่าและเกล็ดถี่กว่า อย่างว่า บ้านข้อยพุ้นดินดำน้ำชุ่ม ปลากุ่มบ้อนคือแข้แกว่งหาง ปลานางบ้อนคือขางฟ้าหลั่น จักจั่นฮ้องคือฆ้องลั่นยาม (กลอน).
  • กุ่ม
    แปลว่า : กุ่มน้ำ ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดตามริมน้ำ ก้านหนึ่งมีสามใบ ใบใช้ดองกินได้ เรียก ส้มผักกุ่ม อย่างว่า กกเบ็นน้ำกุ่มก่ามคลุมเครือ เจือระเนือติดป่าบอนปลาบ้อน (กาเผือก).
  • กุม
    แปลว่า : ตายกลม เวลาคลอดลูก ทั้งแม่และลูกตายพร้อมกัน เรียก ตายกุม.
  • กุม
    แปลว่า : กอดรัด อย่างว่า ยักษ์ใหญ่ย้ายทยานฮอดปุนเปือง กุมเอานางนงพราวพรากพลพลันได้ มันสยองตนขึ้นเวหาปอมเมฆ อุ้มอ่อนแก้วสะแคงตุ้มต่อมขวัญ (สังข์).
  • กุม
    แปลว่า : จับเอาโดยที่ผู้จับทำความผิดอย่างว่า มันก็คึดฮ่ำเผี้ยนผยองเต้นเปิบกุม (สังข์).
  • กุบ
    แปลว่า : ต่อสู้โดยไม่ถอยเรียก กุบ เช่น ชกเอาชีวิตเป็นประกัน เรียก กุบกัน ควายชนไม่ถอย เรียก กุบกัน.
  • กุบ
    แปลว่า : หมวก หมวกโบราณสานด้วยไม้ไผ่แบบตาเฉลวห่าง รองด้วยใบตองหนังใช้กันแดดกันฝน มีสองชนิด ชนิดเล็กและสั้นเรียก กุบก้อม ชนิดใหญ่เรียก กุบเกิ้ง.
  • กุ้นดุ้น
    แปลว่า : มือที่ถูกตัดขาดไปโดยไม่เหลือ เรียก ขาดกุ้นดุ้น สิ่งใดที่ตัดขาดไปจนแทบไม่เหลือประโยชน์ก็เรียก ขาดกุ้นดุ้น.
  • กุ้น
    แปลว่า : สั้น มือที่ถูกตัดเกือบไม่เหลือเรียก มือกุ้น.