ภาษาอีสานมาใหม่ 15911 - 15920 จาก 17431
-
กอบ
แปลว่า : มาตราตวง คือ ๒ กำ เป็น ๑ กอบ อย่างว่า เสียกอบแล้วอย่าเสียกำ เสียคำแล้วอย่าเสียเงิน (บ.). -
ก้อนเส้า
แปลว่า : ก้อนอิฐ ก้อนหิน หรือก้อนดิน ๓ ก้อน เอามาวางไว้เพื่อตั้งเตาหุงต้มเรียก ก้อนเส้า. -
ก้อน
แปลว่า : คำบอกลักษณะของสิ่งของเล็กๆ ซึ่งเกาะกันเป็นก้อน เช่น ก้อนอิฐ ก้อนดิน ก้อนข้าว เรียก ก้อน. -
ก่อด่อ
แปลว่า : อาการที่ของเล็กๆ และสั้นยื่นออกมา เรียก ก่อด่อ ถ้าของใหญ่เรียก โก่โด่. -
กอดจอด
แปลว่า : ของเล็กที่กองรวมกันไว้เรียก กองกอดจอด ของใหญ่เรียก กองกูดจูด. -
กอดเกี้ยว
แปลว่า : กอดรัดไว้ด้วยความรักใคร่หรือพูดเกี้ยวพาราสีกัน เรียก กอดเกี้ยว อย่างว่า บัดนี้สัพพะกอดเกี้ยวกลอนเก่ามาแถลง ชื่อว่าเทพาพระวาดพระนอมไพรกว้าง บุญยวงยั้งเชาแคลนคราวหนึ่ง ดีแก่สังข์ล่วงผ้ายผันย้ายก่อนบา (สังข์). -
ก้อดก้อด
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงมอดเจาะไม้เสียงดังก้อดก้อด. -
กอด
แปลว่า : โอบไว้ในวงแขน เช่น ชายหญิงที่รักกันโอบกอดกัน อย่างว่า นางก็คืนคุงผัวกอดกุมหิวไห้ (สังข์). -
ก่อซ่อ
แปลว่า : อาการที่เด็กนั่งซอมซ่อ เรียก นั่งก่อซ่อ ถ้าผู้ใหญ่เรียก นั่งโก่โซ่. -
ก่อจ่อ
แปลว่า : อาการที่เด็กนั่งห่อตัว เรียก นั่งก่อจ่อ ถ้าผู้ใหญ่นั่งเรียก โก่โจ่.