ภาษาอีสานมาใหม่ 7643 - 7652 จาก 17431
-
หยาด
แปลว่า : หยด ย้อย ไหล เมล็ดฝนหรือน้ำค้างที่ไหลลงมาติดกัน เรียก หยาด อย่างว่า คือดั่งหยาดแต่ฟ้าเสด็จท่องธรณี สะบุคีงงามฮาบคำควรย้อง (ฮุ่ง). -
หยาด
แปลว่า : เมล็ดฝนหรือก้อนหิมะคือหมากเห็บตกลงมา เรียก หยาดฝน หยาดหมากเห็บ หยาดหมอก. -
หย้างหย้าง
แปลว่า : อาการเคี้ยวเอื้องของวัวควาย เรียก เคี้ยวหย้างหย้าง. -
หย่า
แปลว่า : เลิก ร้าง ผัวเมียที่เลิกร้างกัน เรียก หย่ากัน เด็กเลิกกินนม เรียก เด็กหย่านม คอเหล้าเลิกจากเหล้า เรียก หย่าเหล้า ร้างจากเล่นการพนัน เรียก หย่าการพนัน. -
หย่า
แปลว่า : สักครู่ ประเดี๋ยว เมื่อกี้ เช่น ไปเมื่อสักครู่ เรียก ไปหว่างหย่า หนีไปเมื้อกี้ เรียก หนีหว่างหย่า. -
หยา
แปลว่า : สาก สิ่งซึ่งมีลักษณะขรุขระไม่เรียบร้อย เวลาเอามือไปแตะต้องเกิดระคาย เรียก หยา เช่น หยาตีน หยามือ หยาแข้ง หยาขา. -
หยั่วเหยี่ย
แปลว่า : ยั้วเยี้ย คนหรือสัตว์เดินพลุกพล่านไปมา มองดูแล้วเกิดความสับสนวุ่นวาย เรียก ย่างหยั่วเยี่ย. -
หยั่วหยั่ว
แปลว่า : ขวักไขว่ คนที่เดินขวักไขว่ไปมา เรียก ย่างหยั่วหยั่ว หยั่วเหยี่ย หยั่วเหยี่ย ก็ว่า. -
หยับ
แปลว่า : กระเถิบ เลื่อน เคลื่อน กระเถิบเข้าไปใกล้ เรียก หยับ อย่างว่า ท้าวก็หยับเข้าใกล้เฮียงห่างนางงาม (ขูลู) เจ้ากล่าวแล้วอาวฮีบฮับขาน มีดั่งสีใสสันผ่อดูดีฮ้าย รือจักถางทางเว้นสงสารในโลกได้นั้น หยับเคี่ยนค้ายดูเบื้องบ่เสถียร (ฮุ่ง). -
หยั่นหยั่น
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงร้องของจักจั่นในฤดูแล้ง อย่างว่า ฮ้องหยั่นหยั่นจักจั่นเดือนสาม (บ.).