ภาษาอีสานมาใหม่ 9763 - 9772 จาก 17431
-
มะ
แปลว่า : เป็นสร้อยคำที่ปรุงแต่งคำให้สละสลวยขึ้น เช่น คำว่า งอ ได้แก่ คดๆ งอๆ แต่ปรุงเป็น มะงอ มะง้อง เป้นต้น คำว่า มะงอมะง้องที่ปรุงแต่งขึ้นก็คือคดๆ งอๆ นั่นเอง. -
ม้อยระแม่ง
แปลว่า : ตาย อย่างว่า คันบ่กูร์ณาอ้ายเห็นชิตายม้อยระแม่ง (ผาแดง). -
ม้อย
แปลว่า : อาการค่อยหลับไปจนตาย เรียก ม้อย อย่างว่า แม่หอดแห้งหิวม้อยมอดตาย (สังข์). -
มอย
แปลว่า : มอง อย่างว่า มอยฝั่งน้ำแลน้องบ่เห็น (บ.). -
มอม
แปลว่า : เอาสีดำทาหน้าเรียก มอมหน้า. -
มอม
แปลว่า : สิงห์ดำ สิงโตดำเรียก มอม ลายที่สักตามแขนหรือขาเป็นรูปสิงโตเรียก ลายมอม อย่างว่า แต่นั้นท้าวคาดผ้าผืนดอกลายเครือ ของแพงมวลแม่เมืองประสงค์ให้ ลายเจือเกี้ยวสิงมอมเมียงม่าย ทรงอยู่เค้าดูเข้มคาบเหลียว (ฮุ่ง) พ่องก็ปุนมอมเมยม่ายชูชมชู้คงขวางโอ้ไพศาลแสนส่ำ มีดอกไม้บานห้อมหื่นหอม (สังข์). -
มอบ
แปลว่า : ทำให้เรียบ เช่น มอบต้นข้าวที่สุกเต็มที่ให้ล้มไปทางดียวกัน เรียก มอบเข้า. -
มอบ
แปลว่า : ยกให้ เวนให้ อย่างว่า แม้นชิเงินคำล้นมณีกองแก้วหลาก หลายส่ำถ้วนถวายน้องมอบมวล พี่แล้ว (สังข์). -
ม้อน
แปลว่า : นางทรง นางทรงเรียก แม่ม้อน อย่างว่า เฮาจักเต้าแม่ม้อนพลันขึ้นเบิ่งแนน (ขูลู). -
ม้อน
แปลว่า : ตัวไหม ตัวไหมเรียก ม้อน อย่างว่า หนูกินม้อนจั่งเห็นคุณแมว ลูกแขวนแอวจั่งเห็นคุณพ่อแม่ (ภาษิต) สีหมากหว้าชมพูหายาก สีม้อนเต้อหาได้คู่ยาม (กลอน).