ค้นหา "คือ" 711 - 720 จาก 1148
-
วันข้างขึ้น
แปลว่า : วันที่พระจันทร์เริ่มสว่างไปจนถึงพระจันทร์เต็มดวง คือวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เรียก วันข้างขึ้น. -
วันข้างแฮม
แปลว่า : วันที่พระจันทร์เริ่มอับแสงไปจนถึงวันพระจันทร์ดับ คือวันแรม ๑ ค่ำ ถึงแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ เรียก วันข้างแฮม. -
วันแถ
แปลว่า : วันที่พระปลงผมเรียก วันแถ เดือนหนึ่งข้างแรมปลงวันแรม ๑๔ ค่ำ ข้างขึ้นปลงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ปัจจุบันปลงเดือนละครั้ง คือปลงในวันขึ้น ๑๔ ค่ำของทุกเดือน วันปลงผมเรียก วันแถ มื้อแถ ก็ว่า. -
วันพระ
แปลว่า : วันที่พระสงฆ์ทำกิจพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ มีการฟังเทศน์ ทำวัตรสวดมนต์ บำเพ็ญสมถวิปัสสนากัมฐาน เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือวันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำในเดือนเต็ม ถ้าเดือนขาดเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียก วันพระ. -
วันเพ็ง
แปลว่า : วันพระจันทร์เต็มดวง เรียก วันเพ็ง เดือนหนึ่งๆ มีเพียงหนึ่งวัน คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ. -
วันเวียน
แปลว่า : เวลาที่พระอาทิตย์กำลังจะลับฟ้า เรียก วันเวียน อย่างว่า คือคู่หิมเวศด้าวเดียระดาษไกสร กุมภัณฑ์ประสงค์สอดปุนไปยั้ง พอเมื่อวันเวียนค้ายคาสีแสงต่ำ เหมือยเร่งล้นพรมพั้วกาบกระจวน (สังข์). -
วัลลี
แปลว่า : เถาวัลย์ เครือเถา ไม้เถา (ป.ส.) อย่างว่า เล็งฟากฟ้าคือนาคลายวัลลิ์ ลางตัวแปรม่ายเมียงเมิลซ้าย ชะพึบพร้อมคุชสิงห์ฉันย่าง บางเคี่ยนย้ายดูดั่งกินรอน (ฮุ่ง).. -
สืบหูก
แปลว่า : ต่อหูก คือเอาด้ายยาวที่จะทอเป็นผืนมาต่อกับด้ายซ้งในฟืม เพื่อใช้ในการทอผืนผ้า. -
แส่ว
แปลว่า : 1. โฉบ เฉี่ยว เช่น ให้เจ้าเอายาวไว้คือกาคาบเอี่ยน อย่าได้เฮ็ดอ้อมป้อมคือฮุ้งแส่วหนู (ผญา) 2. เย็บ ปัก ถัก ร้อย เช่น ดูสะอาดล้ำหลิ้งแส่วไหมคำ แคงคานคุมเครื่องเหลืองสมเสื้อ ลำลำง้อมงามเฉลียวปุนแต่ง ฝูงนี้ลอนเลือกชั้นแฝงเนื้อพี่ไป ว่าเนอ (ฮุ่ง) คำที่ใกล้เคียง : แส่วหนี -
ห้ง
แปลว่า : ขัง น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วขังอยู่เรียก น้ำห้ง อย่างว่า ที่เลิ่กมาเล่าตื้นไปห้งบ่อนเขิน (ปัสเสนทิ) ฝนตกห้งไหลโฮมแต่บ่อนขุ่ม บ่อนใดสูงบ่ค้างโฮมห้งแต่บ่อนขุม ฝนตกห้งไหลโฮมโคกเท้อเล้อ บ่อนใดสูงเจ้อเก้อโฮมห้งหน้าหน่ายฝน (กลอน) คือคู่น้ำเลื่อนห้งบัวบ้างส่องใส (หน้าผาก).