ค้นหา "มอง" 161 - 170 จาก 229
-
สะงาว
แปลว่า : เลือนราง การพูดให้มองเห็นภาพได้แต่ไม่ชัดเจนพอเลือนลาง เรียก สะงาว อย่างว่า พี่จักเดียงกลอนให้พอสะงาวเห็นเงื่อน คันอยากฮู้เลิ็กตื้นให้ตาเสื้องเบิ่งเอา (บ.). -
สะดุด
แปลว่า : ตอไม้หรือรากไม้ที่ฝังอยู่ในดิน เมื่อเดินไปมักจะตำเพราะมองไม่เห็น เรียก สะดุด สะดุดฮุดตอ ก็ว่า อย่างว่า อ้ายไปพุ้นอย่าได้ตำสะดุดตอต้องหีนแฮ่กลางทาง อย่าได้ตำสะดุดต้องหีนบางกลางเหล่า ให้เจ้าก้มต่ำหน้าเถิงบ้านจั่งค่อยเงย (ผาแดง). -
สะนู
แปลว่า : เครื่องทำเสียงชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายหน้าจ้าง ใบสะนูทำด้วยใบตาล ใบลาน ติวไม้ไผ่ หรือทำด้วยแผ่นเงินแผ่นทอง ถ้าได้แผ่นเงินแผ่นทองเสียงจะไพเราะนัก สะนูนี้ใช้ติดที่หัวว่าว ปล่อยว่าวขึ้นไปในอากาศ มพัดสะนูเสียงจะดัง ฟังแล้วเกิดความเพลิดเพลินเจริญใจ ชาวนาที่ต้องใช้หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินหากินมาแต่ดึกดำบรรพ์ ได้รับความทุกข์ทรมาน เมื่อได้ยินเสียงสะนูดังก็จะลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ลืมกระทั่งความทุกข์ยากปากหมอง. -
สักกะลัน
แปลว่า : ตำข้าวเปลือกด้วยครกกระเดื่อง ใช้เท้าถีบถี่ เรียก ตำสักกะลัน อย่างว่า เสียงครกมองตำเข้าเดิ็กมามันม่วน ตำช้าช้าเสียงบอกยามซุก เดิ็กจั่งซุกเดิ็กเดิ็กจั่งซุก ตำเสียงสั้นสักกะลันน่ำน่ำ หกตำลึงแตะแต่งแหล้งหงายลงแป่งแง่ง (หนังสือเจือง). -
สาก
แปลว่า : เครื่องมือสำหรับตำ เรียก สาก ทำด้วยไม้แก่นกลมๆ สำหรับตำป่นตำแจ่ว เรียก สากกะเบือ ครกที่ตำข้าวเปลือกเรียก ครกมอง สากมองมี ๓ ชนิด คือ สากตำ สากต่าว สากซ้อม ขนาดของสากมอง สากใหญ่ยาวศอกก้อย สากน้อยยาวสอกกำ สากตำใช้ตำทีแรก สากต่าวใช้ทีสอง สากซ้อมใช้ครั้งสุดท้าย อย่างว่า บุญบ่เคยขี่ช้างย้านแหย่งพาตก บุญบ่เคยขี่ครกย้านสากกระเบือพาเต้น (ผญา) มีแต่ครกบ่มีสากซ้อมตำได้เข้าบ่ขาว (กา) เสียงสากก้อมตะบึงบ้านมี่นัน (สังข์). -
สิ้ง
แปลว่า : มองดูด้วยไม่เต็มมา เรียก สิ้ง มองดูด้วยหางตา เรียก สิ้งตาน้อย มองตาม เรียก สิ้งตานำ อย่างว่า โต๋ต่งโต๋นารีโต่งโต้น โต๋ต่งโต้นผู้สาวขี้งอยโพน ก้อนขี้กลิ้งผู้สาวสิ้งตานไ หักไม้แก้งแม่นไม้หนามคอม หนามคอมเกาะเต้นเดาะเต้นด่อง (กลอน) บุพเพท้าวนำมาปางก่อน ทรงเครื่องสิ้งขุนฟ้าฟากพรหม (ฮุ่ง). -
โสกาลัย
แปลว่า : ความเศร้าหมองใจและความห่วงใย ร้องไห้สะอึกสะอื้น. -
โสกี
แปลว่า : ผู้มีความโศก อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงภูชัยท้าวกุศราชพระยาหลวงก่อนแล้ว คนิงตนแดคั่งทวงเทม้าง โสกีแค้นเดืองพระทัยหมองหม่น ก็บ่เหยเหือดน้ำตาย้อยย่าวไหล (สังข์) เมืองค่ำค้อยเป็นฮุ่นหนามหนา เพราะเพื่อบาไทธรงโศกแคลนคำฮ้อน คีงโซซ้ำโสกีกล้วยบ่ม ลางเทื่อฝันอิ่นอ้อยองค์สะดุ้งหล่าหลง (สังข์). -
หงส์คำ
แปลว่า : หงส์ทอง หงส์ทองเรียก หงส์คำ อย่างว่า เจ้าผู้หงส์คำผ้ายกลายเขาคันธมาทน์ เจ้าสิมองใสไม้โพดั้วฮ่มเขียว บาดว่าสาขาไม้โพบางเหลืองหล่น ผัดชิได้อ่าวโอ้คนิงไม้อยู่เขา ละนอ (ผญา). -
หม่น
แปลว่า : สีมอๆ มัว ไม่หมดจด สิ่งที่ไม่หมดจด เรียก หม่น หม่นหมอง ก็ว่า อย่างว่า เป็นดั่งจันโทเศร้าเสียสีหมองหม่น เมฆหมอกเบื้องบังไว้บ่ส่องแสง (บ.).