สะนู ภาษาอีสาน

สะนู

สะนู แปลว่า

สะนู แปลว่า เครื่องทำเสียงชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายหน้าจ้าง ใบสะนูทำด้วยใบตาล ใบลาน ติวไม้ไผ่ หรือทำด้วยแผ่นเงินแผ่นทอง ถ้าได้แผ่นเงินแผ่นทองเสียงจะไพเราะนัก สะนูนี้ใช้ติดที่หัวว่าว ปล่อยว่าวขึ้นไปในอากาศ มพัดสะนูเสียงจะดัง ฟังแล้วเกิดความเพลิดเพลินเจริญใจ ชาวนาที่ต้องใช้หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินหากินมาแต่ดึกดำบรรพ์ ได้รับความทุกข์ทรมาน เมื่อได้ยินเสียงสะนูดังก็จะลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ลืมกระทั่งความทุกข์ยากปากหมอง.

สะนู ภาษาอังกฤษ : bow-shaped noise-maker attached to top of kites, wind passing through it creates harmonic tones.

อัพเดตล่าสุด : 2024-10-04 15:10:01 พจนานุกรมภาษาอีสาน โดย ดร.ปรีชา พิณทอง

สะนู แปลว่า หุ่นรูปวัว หุ่นที่ปั้นด้วยขี้ผึ้งหรือหล่อด้วยทองเหลือง ใช้เป็นเครื่องป้องกันตัวและทำลายศัตรูคู่อาฆาต เมื่อหล่อหรือปั้นเสร็จแล้วก็ทำการปลุกเสกด้วยเวทมนต์ เวลาเกิดบ้านเมืองเดือดร้อนเพราะภูตผีปีศาจ หรือคนเป็นข้าศึกศัตรูกันก็ปล่อยวัวสะนูนี้ไปทำลาย งัวสะนูขี้ผึ้งสู้งัวสะนูทองไม่ได้ เพราะการสู้รบตบตีกันต้องใช้กำลังและความเข้มแข็ง.

สะนู ภาษาอังกฤษ : bull-shaped doll made of wax or brass used as a protective amulet or for voodoo attack on enemy.

อัพเดตล่าสุด : 2018-08-25 23:26:26 พจนานุกรมภาษาอีสาน โดย ดร.ปรีชา พิณทอง

ภาษาอีสาน/ความคิดเห็นจากทางบ้าน

กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความคิดเห็น