หน้าแรก / สถานที่ / จังหวัดอุดรธานี/อำเภอเมืองอุดรธานี/อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

สถานที่ท่องเที่ยว

อนุเสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาสังวาล ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2399 ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ (เรียกว่า “มณฑลอุดร” ในสมัยต่อมา) ระหว่าง ร.ศ.112-118 ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมืองอุดรขึ้นเมื่อ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ทรงจัดวางระเบียบราชการปกครองบ้านเมือง และรับราชการในหน้าที่สำคัญๆ ที่อำนวยประโยชน์แก่ราษฎร อนุสาวรีย์พระองค์ท่านนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวจังหวัดอุดรธานี จะมีพิธีบวงสรวงในวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมืองอุดร ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2436 หรือ ร.ศ.112 เป็นพระอนุสาวรีย์รูปปั้นทองบรอนซ์ในพระอิริยาบถทรงประทับยืนอยู่บนแท่นหินแกรนิตสีเทาดำ ที่มีความสูงเฉพาะพระแท่นประทับประมาณ 3.50 เมตร ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเต็มพระยศ พระหัตถ์ขวาทรงถือพระแสงกระบี่ พระอนุสาวรีย์ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งชาวจังหวัดอุดรธานี ให้ความเคารพนับถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองที่สำคัญแห่งหนึ่ง ชาวอุดรธานีที่จะเดินทางไปต่างบ้าน ต่างเมือง หรือกลับมาถึงเมืองอุดรธานี จะยกมือไหว้เพื่อเป็นการบอกกล่าว รวมถึงประชาชนที่เดินทางผ่านไปผ่านมาด้วย สำหรับการกราบไหว้เพื่อการขอพรนั้น ผู้สันทัดกรณีบอกว่าเป็นเคล็ดลับ เช่นหากว่าขอพรในการสอบแข่งขัน การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งก้าวหน้า สอบราชการทหาร ตำรวจ รัฐวิสาหกิจต่างๆ ท่านบอกว่าให้ตั้งจิตอธิษฐานบนบานต่อพระองค์ท่าน ด้วยการวิ่งรอบพระอนุสาวรีย์ และถวายม้าและดาบ เป็นของแก้บน ส่วนผู้ที่ไม่ได้บนบาน การกราบไหว้พระอนุสาวรีย์กรมหลวงฯ ทำให้เกิดมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ปราศจากอุปสรรคต่างๆ ในการทำงาน ประสบผลสำเร็จในการเรียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุเสาวรีย์นี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ษ. 2514 โดยกรมศิลปากรออกแบบ และปั้นหล่อ

ทหาร

  17.400900,102.794400

ค้นหา

แนะนำสถานที่ใหม่  

สำรวจขอนแก่น  

สำรวจอุดรธานี  

สำรวจสกลนคร  

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*