หน้าแรก / สถานที่ / จังหวัดร้อยเอ็ด/บ้านกู่กาสิงห์

บ้านกู่กาสิงห์

สถานที่ท่องเที่ยว

ชาวบ้านกู่กาสิงห์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาว เดิมอาศัยอยู่บ้านเหม่า บ้านแวง เมืองสุวรรณภูมิ ได้เดินทางไปตั้งเมืองจัตุรพักตรพิมานกับพระธาดาอำนวยเดช (ต้นสกุลสุวรรณธาดา) อยู่ที่นั่นประมาณ 7-8 ปี ครั้งนั้นมีนายลือ (ต้นสกุลศรีกู่กา) นายพระจันทร์ (ต้นสกุลศรีเที่ยง) นายเพียราช (ต้นสกุลอุปวงษา) และนายสักขา (ต้นสกุลบัวเบิก) ทั้งหมดอ้างว่าได้รับการปกครองจากเจ้านายที่ไม่เป็นธรรม จึงพาครอบครัวย้อนกลับมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกู่กาสิงห์ เมื่อเดือน 4 ปีขาล พุทธศักราช 2546 หลังจากนั้นมีชาวเมืองสุวรรณภูมิส่วนหนึ่งที่ทราบว่าคนรู้จักมักคุ้นกันกลับมาอยู่ที่บ้านกู่กาสิงห์ก็อพยพเข้ามาอยู่ด้วยที่บ้านกู่น้อย ส่วนพวกที่มาจากอำเภอจตุรพักพิมานไปอยู่ที่คุ้มใหญ่ (บ้านหนองเมืองแสน) ส่วนชาวบ้านดงมัน บ้านจาน ตำบลสิงห์โคก เข้าตั้งบ้านเรือนอยู่คุ้มตะวันตก (คุ้มบ้านจาน) และตั้งบ้านเรือนอยู่คุ้มป่าม่วง ปีพุทธศักราช 2518 บ้านกู่กาสิงห์แยกออกจากบ้านเมืองบัวตั้งเป็นตำบลกู่กาสิงห์ ปีพุทธศักราช 2518 ตั้งเป็นสุขาภิบาลตำบลกู่กาสิงห์ ปีพุทธศักราช 2540 ตั้งเป็นเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ ปี 2545 เปิดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงการเกษตร โดยจัดงานกินข้าวทุ่งฯ นุ่งผ้าไหม มีกิจกรรมกินข้าวพาแลง และชมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ปี 2547 นักวิจัยท้องถิ่นจัดทำวิจัยประเด็นการท่องเที่ยว ซึ่งทำให้มีชมรมเข้ามาบริหารจัดการ มีกิจกร ารท่องเที่ยว เป็นฐานเรียนรู้ทางวัฒนธรรมกมคือฐานโบราณสถาน ฐานพิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญา ฐานสวนเกษตรทฤษฎีใหม่ ฐานศูนย์ผ้าไหมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ฐานวรรณกรรมชาวบ้าน ฐานการตัดลายกระดาษพื้นบ้าน ซึ่งมีนักศึกษาหรือนักท่องเที่ยวเข้ามาศึกษาดูงานหรือท่องเที่ยวอยู่เสมอ และเมื่อวันที่ 16-17 เดือนกันยายน 2553 ทางราชการได้เข้ามาเปิดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชาวบ้านกู่กาสิงห์ประกอบอาชีพหลักคือ การทำนา ข้าวหอมดอกมะลิ เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ ส่วนข้าวที่รับประทานคือ ข้าวเหนียว อาชีพเสริมของชาวบ้านได้แก่ การทอผ้าไหม การเลี้ยงปลาในนาข้าว และการบริการรับจ้างไถที่นา ปรับที่นา บริการรถเกี่ยวข้าว เป็นต้น ชาวบ้านนับถือพระพุทธศาสนา และยึดถือหลักธรรมคำสอนพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

หมู่ 2 ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 45150

[email protected]

084 789 7006

ค้นหา

แนะนำสถานที่ใหม่  

สำรวจขอนแก่น  

สำรวจอุดรธานี  

สำรวจสกลนคร  

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*