การเลี้ยงแพะเนื้อ

รูปประจำบทความ การเลี้ยงแพะเนื้อ

แพะ เป็นสัตว์ที่สามารถให้ประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง ในการเลี้ยงแพะเนื้อในปัจจุบันนี้ สามารถที่จะนำไปต่อยอด เลือกแพะเนื้อมาเลือกได้หลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นแพะเนื้อสำหรับกินเนื้อ หรือ แพะเนื้อสำหรับกินนม ก็สามารถที่จะเลือกเลี้ยงได้ การเลี้ยงแพะเนื้อทำให้ได้ผลตอบแทนที่รวดเร็ว แถมยังเลี้ยงง่ายอีกด้วย เพราะแพะเนื้อเป็นสัตว์ที่กินพืช กินหญ้า กินอาหารที่มาจากการทำการเกษตรได้

การเลี้ยงแพะเนื้อ

การเลี้ยงแพะเนื้อ

พันธุ์แพะเนื้อ

  • แพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย ที่จะได้เจอบ่อยๆก็อย่างเช่น พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์แองโกลนูเบียน พันธุ์บอร์ รูปร่างสูงใหญ่ สมบูรณ์และมีความสง่างาม
  • แพะเนื้อเพื่อผลิตนมจำหน่าย พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดก็คือพันธุ์ชาแนน ที่ตัวมีสีขาว ให้ปริมาณน้ำนมที่มาก และอีกสายพันธุ์หนังคือพันธุ์แองโกลนูเบียนที่ให้ทั้งเนื้อและนม แต่แองโกลนูเบียนจะมีหลายสี
  • แพะเนื้อเพื่อผลิตเนื้อจำหน่าย พันบอร์ พันธุ์แองโกลนูเบียน หรือพันธุ์ลูกผสม

อาหารและการให้อาหาร

แพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์โดยธรรมชาติแล้วจะกินง่าย สามารถที่จะกินได้ทั่วไป อาหารจำพวกหญ้า และพืชชนิดต่างๆนั้นก็กินได้ง่าย แล้วแพะก็เป็นสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องด้วยเช่นกัน

แพะเนื้อเพื่อผลิตนม เพื่อให้ร่างกายของแพะเจริญเติบโตได้ดีมากยิ่งขึ้น และทำให้ผลิตน้ำนมได้จำนวนมาก ควรจะให้กินอาหารหยาบ หญ้า หรือหญ้าผสมถั่ว อาจจะเป็นข้าวโพดตามไปเพื่อเป็นตัวช่วยในการผลิตนม

แพะเนื้อเพื่อผลิตเนื้อ ด้วยความที่ผลผลิตของแพะเนื้อประเภทนี้นั้นเน้นที่เนื้อเป็นหลัก ดังนั้น แพะจำเป็นจะต้องแข็งแรง ส่วนใหญ่แล้วจะปล่อยกินหญ้าได้ ให้แพะได้วิ่งและเดินเพิ่มเสริมสร้างกล้ามเนื้อของมันเอง เพื่อความเชื่อว่าเนื้อจะอร่อย จะปล่อยกินหญ้าก็ได้ ปล่อยสวนมะพร้าว สวนปาล์มก็ได้

ปล่อยแพะกินหญ้าในทุ่ง

ปล่อยแพะกินหญ้าในทุ่ง

การเลี้ยงดู

แพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย ในการเลี้ยงดูลูกแพะช่วงแรกๆก็จะต้องให้อยู่กับแม่แพะก่อน หลังจากนั้น เมื่ออายุครบ 3 เดือนไปแล้วก็จะต้องแยกออกมา แยกตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน ปล่อยกินหญ้าบ้าง หรือตัดหญ้ามาให้กินในคอกบ้าง เมื่ออายุครบ 8 เดือนถึง 1 ปีก็ถือว่าโตและสามารถที่จะผสมพันธุ์ต่อๆไปได้ ซึ่งอัตราในการผสมพันธุ์ก็คือ ตัวผู้ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 15-25 ตัว

การดูแลแพะเนื้อเพื่อผลิตนม จะเพิ่มเติมในเรื่องของอาหารก่อนทำการรีดนม เพราะต้องให้อาหารข้นก่อนการรีดนม หรือว่าคอยดูแลเต้านมให้ดีดีไม่ให้มีการติดเชื้อใดใด แพะ 1 ตัวก็จะรีดน้ำนมได้ประมาณ 2 กิโลกรัม ซึ่งนมแพะนั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมาก

แพะเนื้อเพื่อผลิตเนื้อ ดูแลแบบขังคอกในตอนเช้า แต่ตอนบ่ายนั้นให้เดินออกหากินเอง

โรงเรือนและอุปกรณ์

โรงเรือนเลี้ยงแพะ

โรงเรือนเลี้ยงแพะ

สำหรับแพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์และผลิตเนื้อนั้น ส่วนใหญ่จะจะสร้างโรงเรือนที่มีการระบายอากาศได้ดี ขอเพียงแค่กันแดดและฝนได้มากพอ สำหรับพื้นที่จำกัด ก็ควรจะทำรั้วสูงเพื่อป้องกันแพะกระโดดข้ามและเดินหลงออกไป ควรมีช่องหรือรางน้ำเพื่อความสะดวก ส่วนแพะเนื้อเพื่อผลิตนมนั้นก็ควรเพิ่มสถานที่สำหรับวางอุปกรณ์รีดนมแพะเอาไว้ด้วย

รีดนมแพะ

รีดนมแพะ

โรค การป้องกันโรค

การเลี้ยงแพะเนื้อไม่ว่าจะเป็นแพะพันธุ์ใดก็ตาม ควรเลี้ยงแบบไม่ให้มีพยาธิ ต้องกำจัดเอาสิ่งสกปรกและพยาธิภายนอกออกไปให้หมดก่อน ด้วยการฉีดน้ำ และถ่ายพยาธิภายในด้วย และเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ดี ควรปรึกษาแพทย์และทำการฉีดวัคซีนให้กับแพะทุกตัวตามนัด

ต้นทุน

แพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย ถ้าเทียบกับแพะพันธุ์ดี 1 ชุดซึ่งก็คือ แพะตัวผู้ 1 ต่อตัวเมีย 10 รวมเป็น 11 ตัว จะเสียเงินลงทุนประมาณ 35,000 – 40,000 บาท ราคานี้รวมกับพันธ์แพะด้วย หญ้า อาหารข้น โรงเรือน และอุปกรณ์เสริมต่างๆ

แพะเนื้อเพื่อผลิตนมจำหน่าย ในครั้งแรกจะลงทุนถึง 65,000-85,000 บาท เพราะแพะเพื่อผลิตนมจะต้องมีการซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการรีดนมและการเก็บนมให้ได้คุณภาพด้วย ที่เหลือก็คือพันธุ์แพะและโรงเรียน ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆในปีต่อมาที่ต้องจ่ายประมาณ 13,000-15,000 บาทไปกับค่ายา เวชภัณฑ์หรืออาหารเสริมต่างๆเพื่อเป็นการเร่งผลิตน้ำนมที่ได้คุณภาพ

แพะเนื้อเพื่อผลิตเนื้อจำหน่าย ต้นทุนจะต่ำลงมาหน่อย เพราะแค่ซื้อพันธุ์แพะอายุ 3 เดือนมาเพื่อเลี้ยงต่อไป ซึ่งก็อยู่ที่ตัวละ 1,000-1,500 บาท อยากจะเลี้ยงกี่ตัวก็ได้ และมีค่าใช้จ่ายเรื่องยาต่อตัวประมาณ 300-400 เท่านั้น

ผลตอบแทน

แพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย ลูกแพะอายุ 1 ปีจะสามารถขายได้ตัวละ 2,500-3,500 บาท เพื่อทำการเลี้ยงและขยายพันธุ์ต่อไป

แพะเนื้อเพื่อผลิตนมจำหน่าย จะพูดถึงเรื่องผลตอบแทนของน้ำนมแพะก่อนที่จะได้ขายปีละประมาณ 120,000-160,000 บาท หลังจากนั้นก็จะมีผลตอบแทนจากการขายลูกแพะที่หย่านมแล้วด้วยตัวละ 2,500 บาท การเลี้ยงแพะนมนี้ถือว่ารายได้สูงมากทีเดียว

แพะเนื้อเพื่อผลิตเนื้อจำหน่าย ผลตอบแทนของแพะเนื้ออาจจะไม่แน่นอน เพราะในแต่ละช่วงก็จะมีฤดูกาลของมันไป อย่างช่วงไหนที่เป็นฤดูกาลทางศาสนา ก็จะไม่มีการกินเนื้อแพะ ซึ่งเมื่อโตเต็มที่ 1-2 ปี น้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัมก็สามารถขายได้แล้วตัวละประมาณ 2,500-3,500 บาท

ข้อมูลและภาพประกอบ

  • หนังสือ 123 อาชีพเกษตรทางเลือก
  • https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jae-hom47&group=6&month=12-08-2011&gblog=11
  • https://www.ku.ac.th/e-magazine/nov48/agri/capra.htm
  • http://www.chaipat.or.th/royal-projects-in-various-regions/7397-2015-sep-12-04-44-41.html

 

 


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*