ชนิดของบึ้ง
ชื่อพื้นบ้าน บึ้ง , อีบึ้ง (มังกรดำแห่งลำเนา)
ชื่อสามัญ Thai land black tarantura
ชื่อวิทยาศาสตร์ Haplopelma minax
วงศ์ Theraphosidae
สกุล Haplopelma
บึ้ง หรือ จัดเป็นแมงมุมที่มีขนาดใหญ่ อยู่ในประเทศไทยมี 4 ชนิด อยู่ใน ได้แก่ บึ้งลายหรือบึ้งม้าลาย บึ้งดำพม่า
บึ้งน้ำเงิน และบึ้งดำ ซึ่งทั้งหมดเป็นสัตว์ห้ามการนำเข้าส่งออกในบัญชีว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า
และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่อยู่ในบัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)
ลักษณะทางกายภาพ
เป็นแมงมุมขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีแปดขา ลำตัวสีดำ เพศเมีย
ขนาดตัวเต็มวัย อาจมีขนสีน้ำตาลดำปกคลุมส่วนท้อง
ขนาดโดยทั่วไป ประมาณ 2.5 – 10 ซม. เคลื่อนตัวช้า ตามลำตัวและขามีขนปกคลุม บึ้งเพศผู้มีอายุเพียง 5 ปี
ส่วนเพศเมีย บางชนิดอาจมีอายุถึง 10 ปี
มีเขี้ยวคู่หน้าขนาดใหญ่สำหรับล่าเหยื่อ สามารถฉีดพิษใส่เหยื่อได้
พิษของบึ้ง อยู่ที่ขน และต่อมพิษบริเวณเขี้ยว สำหรับต่อมพิษบริเวณเขี้ยวนั้น บึ้งจะกัดและปล่อยพิษซึ่งเชื่อมต่อ
กับต่อมพิษ (Poision gland) เพื่อการป้องกันตัวเมื่อถูกคุกคามจากศัตรู บึ้งบางชนิดมีเขี้ยวยาวถึง 1 นิ้ว
แต่พิษของบึ้งมีเพียงเล็กน้อยแค่เพียงพอจะให้เหยื่อขนาดเล็ก เป็นอัมพาตเท่านั้น สำหรับผู้ที่แพ้พิษบึ้ง
เมื่อถูกกัดอาจเกิดบาดแผลบวมแดง เหมือนถูกผึ้งต่อย แต่บางคนอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง
ทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอาจช็อกได้
ถิ่นอาศัย และ พฤติกรรม ตามธรรมชาติ
พบอาศัยอยู่ในอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ บึ้งเป็นแมงมุม ที่ไม่ชักใยเหมือน
แมงมุมทั่วไปชนิดอื่น แต่จะ ขุดรูทำรัง และชักใยไว้บริเวณปากรู
ชอบทำรู หรือ “ ฮูบึ้ง” ไว้ตาม ลานหญ้า, ริมป่าหัวไร่ปลายนา หรือ ในป่ารก
บึ้งเป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน มักจะพบบึ้งขุดรูอยู่ในดินบริเวณลานหญ้าและนาข้าว รูลึกประมาณ 45 ซม.
โดยจะชักใยสีขาวออกมาปิดปากรู ซึ่งเส้นใยสีขาวทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัว เป็นตัวรับสัญญาณสั่นสะเทือน
ให้รู้ว่าศัตรูหรือเหยื่อเดินผ่านมา เมื่อเหยื่อเข้ามาใกล้บึ้งจะจู่โจมและใช้เขี้ยวกัดฝังลงไปในเนื้อ ปล่อยพิษผ่านเขี้ยว
จนทำให้เหยื่อชาเป็นอัมพาตจากนั้นจะใช้เขี้ยวฉีกเหยื่อและดูดกินของเหลวในตัวเหยื่อจนแห้งเหลือแต่ซาก
โดยทั่วไปพฤติกรรมการหาอาหารของบึ้งมักใช้วิธีล่าเหยื่อ ไม่ใช่การสร้างใยให้เหยื่อมาติดกับ
และการฝังเขี้ยวลงในเนื้อของเหยื่อจะเป็นลักษณะแนวลึกตรงซึ่งต่างกับแมงมุมจะเป็นการกัดแบบรอยหยิก
บึ้งไม่ชอบพื้นที่ชุมแฉะ น้ำท่วมขัง หรือมีน้ำมาก จึงไม่น่าแปลก ที่ไม่ค่อยพบเห็น ในทางภาคกลาง
บึ้งมีนิสัย ขี้ตกใจ ขี้ระแวง คอยระวังภัยอยู่เสมอ เมื่อเจอผู้รุกราน จะยกขาหน้า 2 ขาขึ้นสูง
ทำท่าเตรียมพร้อมจู่โจม เหมือนจะประกาศว่า “ อย่าเด้อสู!
อาหารของบึ้ง คือ แมลงต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง ตั๊กแตน จิ้งจก หรือ จิ้งเหลนขนาดเล็ก
จิ้งหรีด และแมลงอื่นๆ
วงจรชีวิต
บึ้งเป็นสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตคล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ
การเจริญเติบโตแบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (ametabola, non-metamorphosis)
ตัวอ่อนจะมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ เพียงแต่มีขนาดของร่างกายเล็กกว่าเท่านั้น
ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ จนมีขนาดเท่าตัวเต็มวัย
วงจรเริ่มจากไข่ โยตัวเมียจะวางไข่ในหลุม ในรู หรือ รังของมัน โยการชักใย มัดไว้เป็นก้อน
เริ่มวางไข่ เดือน พ.ค.- มิ.ย.
จะฟักเป็นตัวอ่อน ที่เกิดมามีรูปร่างเหมือนพ่อแม่ ทุกประการ แต่มีสีขาวคล้ายวุ้น
ช่วงนี้วงจรมีอายุประมาณ 1 เดือน
จากนั้นจะเจริญเติบโต เป็นแมงมุมขนาดเล็ก แยกออกจากรัง ไปใช้ชีวิตตามลำพัง
เจริญเติบโตโดยลำดับ
จนกระทั่งมีอายุได้ 1 ปี จึงมีสำน้ำตาล เมื่อเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัย มีอายุได้ 3 ปี จึงมีสีดำ และ สามารถทำรังได้
ความสัมพันธ์ ในแง่ วิถีชีวิตอีสาน
ชาวอีสานนับตั้งแต่ “ เด็กน้อยหัวถ่อหมากแข้ง” จนถึงเฒ่าหัวหงอก รู้จัก “ตัวบึ้ง” ดี บางที่ เรียก “ อีบึ้ง”
เนื่องจาก ตามหัวไร่ปลายนามักจะพบเห็น รูบึ้ง อยู่เสมอ มักจะหักเอากิ่งไม้เล็ก ๆ ล่อให้มันโผล่ออกมาจากรู
แล้วจับเอาไปทำเป็นอาหาร เช่น ลาบบึ้ง, ป่นบึ้ง, จี่บึ้ง
ตัวไหนที่ดื้อด้าน ไม่ยอมออกมา ก็จะขุดเอา แต่การจับต้องระวังหากถืก บึ้งกัด อาจเจ็บปวดแสนสาหัส
ในแง่ความเชื่อ
หากพบเห็นบึ้ง ขึ้นเรือน ขึ้นเถียงนา หรือ ขึ้นคิงไฟ ถือว่าเป็นรางบอกเหตุร้าย คนในบ้านอาจเจ็บไข้ได้ป่วย
เสียเงินเสียทอง คนในครอบครัวมีอันเป็นไป ที่ร้ายแรงที่สุด คือ “ บึ้งไต่หม้อนึ่ง” คือ พบเห็นบึ้งไต่ตาม
หม้อนึ่งข้าวเหนียว ในครัว หรือ “คิงไฟ” ถือว่าเป็นรางร้ายสุด ๆ ต้องรีบ ทำพิธี เสียเคราะห์ แต่งแก้
ในแง่แห่งโชคลาภ
แม้จะดูเหมือนเป็นสัตว์ที่นำไปสู่หนทางแห่งโชคร้าย แต่ ในทางที่นำไปสู่โชคดีก็มีเช่นกัน
เช่นหากพบเห็น รูบึ้ง หันปากรูไปทางทิศตะวันออก บึ้งตัวนั้นคือบึ้งนำโชค สามารถขอหวยได้ พะนะ
การขอหวยจากบึ้ง ที่ทำรังหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตอนเย็นให้ เขียน เลข 0 – 9 พร้อมเทียน 2 เล่ม
ดอกไม้ 1 คู่ ไปบอกกล่าวแก่บึ้ง จากนั้นวางม้วนกระดาษตัวเลขเล็ก ๆ ไว้รอบ รูบึ้ง
กลับมาดูอีกทีในตอนเช้า หากบึ้งคาบเลขตัวไหนเข้ารู ก็ไปเสี่ยงดวงได้เลย ถ้าถูก ก็เลี้ยงด้วย กระทงหวาน
หากไม่ถูก ก็ ฟ้าวไปขุดบึ้งมาลาบใส่ก้านกล้วยได้เลย
ในแง่การพยากรณ์อากาศ
บึ้งมีประสาทสัมผัสที่แม่นยำ ในเรื่อง ความชื้นและ อุณหภูมิในอากาศ จึงแม่นยำมากในการ ทำนายฟ้าฝน
วันไหนแดดจ้า..แต่บึ้งกลับ หาใบไม้มาถักปิดปากรู วันนั้น หรือ คืนนั้นฝนตก ล้านเปอร์เซ็นต์
คนโบราณมักจะสังเกตธรรมชาติรอบตัว เพื่อรู้เท่าทันถึง บึ้งไม่เคยทำนายพลาดสักครั้ง
ก้นบึ้ง
เมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า”ตัวบึ้ง” เกี่ยวพันกับชีวิตลูกอีสานอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะ วิถีท้องนา
ยามหิวเป็นอาหารได้ ตามอับโชค ก็เป็นที่พึ่งได้ แม้ยามไม่มั่นใจในลมฟ้าอากาศ ตัวบึ้ง ยังให้คำตอบ
ยามมีภัยเล่า บึ้ง ยังเป็นลางสังหรณ์ เตือนล่วงหน้า ถึงเภทภัย
จะมีมิตรที่ไหน เอื้อเฟื้อวิถีชีวิตลูกอีสานไดเท่านี้ บึ้งจึงไม่ใช่แค่ แมลง หรือ แมง ร่วมโลก
หากแต่หยั่งรากฝังลึก ในความทรงจำของ ลูกอีสานหลายคน ดั่งตกลงใน ก้นบึ้งแห่งสำนึก
เมื่อใดที่บึ้ง หายไปจาก ท้องทุ่ง เมื่อนั้นวิถีเราก็อาจเปลี่ยนก็ได้
จึงอยากขอให้ ละเว้น บึ้ง บ้าง เพื่อดำรงค์อยู่ ชั่วลูกหลาน
อย่าให้ความอยาก มีอำนาจเหนือ จริตสำนึก จนหลงลืมว่า
เฮาก็คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ จนทำลายมารดาแห่งชีวิตผู้โอบอ้อม
เฮาคือคนอีสาน ที่เติบโตจากผืนดิน ทุ่งนา ป่าโคก แมลง และ สัตว์อื่นๆ ในวิถี