แมงผักหม

ชื่อพื้นบ้าน    แมงผักหม ,แมงผักโหม (ทรชนปล้นใบไม้)
ชื่ออื่นๆ                ด้วงน้ำมันแถบขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์      Mylabris phalerata Pall.
จำพวก(Species):    Epicauta waterhousei Haag-Rutenberg
วงศ์   :    Meloidae
อันดับ:    Anhui

ลักษณะทางกายภาพ

แมงอันนี้ มีหัวสีส้มแดง ส่วนอื่นของลำตัวมีสีเทาดำ ปีกมีแถบสีขาวปนเทา
พาดตามความยาวสองข้างของปีกและที่เส้นกลางปีก
เป็นตระกูลเดียวด้วง มีขนาดยาว 18-24 มิลลิเมตร
เพศเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่า ยาวกว่าเพศผู้
ตรงส่วนท้าย มีต่อมเก็บสารเคมี สามารถพ่น สารพิษ ได้ ( เยี่ยวใส่ได้ )
เรียกว่าสารแคนทาริดิน (Cantharidin)
นับว่าเป็นกลไก ในการป้องกันตัวของแมงผักหม

ถิ่นอาศัย

พบทั่วไป ตามเดิ่นดอน เดิ่นหน้าบ้าน เดิ่นหน้าเถียงนา หรือ แม้กระทั่งหัวนา
อาศัยอยู่กิน ตาม ต้นผักหม ต้นมะเขือบ้า และมะเขือเคีย( มะเขือเทศ )
และผักขม เป็นต้น  มักอยู่กันเป็นจุ้ม(กลุ่ม) ไต่อยู่อะญะ เต็มต้นผักหม
กัดกินต้นผักหมจนเหลือแต่ก้าน

แมงผักหม

แมงผักหม

มันเป็นแมลงมีพิษร้าย

แมลงชนิดนี้หากโดนรบกวน จะพ่นสาร แคนทาริดิน ซึ่งเป็นสารพิษ
หากโดนผิวหนังจะทำให้เป็นผื่นพองปวดแสบปวดร้อน ถ้าเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ
ที่สำคัญคือกินแล้วถึงตายได้ เพราะ 1 ตัวมีสารแคนทาริดินประมาณ 6 มิลลิกรัม
หากร่างกายได้รับสารแคนทาริดินประมาณ 1-2 ชั่วโมง จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
อาเจียนมีเลือดปนออกมา อุจจาระและปัสสาวะปนเลือด ความดันต่ำ หมดสติ
หากเกินกว่า 10 มิลลิกรัมขึ้นไปจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต
ดังนั้นถ้ารับประทานเพียง 2-3 ตัวก็ทำให้เสียชีวิตได้

ตัวอย่างอันตรายจากแมงอันนี้  สมัยเป็นเด็กน้อยเลี้ยงควาย กับบัก เคน ลูกทิดเดช
(ออกเสียงคล้ายๆ เคน ธีรเดช ) เคยจับมาเล่น เห็นมันสีขิวๆ ซั้นดอก
ก็เลยถืกมันเยี่ยวใส่  แสบฮ้อนปานไฟไหม้  ฟ้าวแล่นไปหนองบวกควาย
เอาน้ำล้างออก  เป็นแผลพองไปหลายมื้อ เป็นแป้ว พะนะ

จึงขอเตือนเด็กน้อยทั้งหลาย หากเห็นแมลงชนิดนี้ให้ฟ้าวแล่นหันๆ หนีโลด
หากผู้สาวเห็น บ่อยาก ค่าดองตก กะให้เว้นไกลๆ

ช่วงที่สามารถพบเห็น คือ ช่วงเดือน พ.ค. – มิ.ย. ( ยามผักหมกำลังป่ง )

วงจรชีวิต

แมงผักหม หรือ ด้วงน้ำมัน(ภาษากลาง)  เป็นแมลงที่มีอายุสั้น จึงมีวงจรชีวิตแบบไม่เต็มขั้น
เหมือนแมลงทั่วไป ซึ่งมี4 ชั้น (Complete Metamorphosis)
ได้แก่  1.ไข่
2.ตัวอ่อน
3.ดักแด้
4.ตัวเต็มวัย

ส่วนแมลงชนิดนี้ มีแค่ 3 ขั้น  ได้แก่  1.ไข่ 2. ตัวอ่อน 3 .ตัวเต็มวัย
เรียกว่าการเจริญเติบโตแบบ (Gradual Metamorphosis)

ไข่จะฟักตัวเมื่อมีอถณหภูมิและความชื่นเหมาะสม ซึ่งเป็นห้วงเดือน ปลาย เม.ย. ถึง พ.ค.
จากนั้นก็ใช้เวลาแค่ 7 วัน ก็แปลงร่างมาเป็น แมงผักหม ตัวเต็มวัย
เมื่อเป็นตัวเต็มวัย จะมีหน้าที่อยู่ 2 อย่าง คือ กิน กับสืบพันธุ์ เท่านั้น
ช่วงโตเต็มวัย มีอายุเพียง 30 วัน

ศัตรูตามธรรมชาติ

เท่าที่เห็นด้วยสายตาตัวเอง มีแต่ ขี้กะตู่ หรือ คันคาก และ ขี้โกะ หรือ จิ้งเหลน
ที่สามารถกินแมงอันนี้ได้ นับว่าสัตว์ทั้ง 2 มีภูมิต้านทานพิษของแมลงนี้ น่าอัศจรรย์


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*