ภาษาท้องถิ่นในภาคอีสาน
ภาคอีสานมีภาษาท้องถิ่นเหมือนกับภาคอื่นๆ โดยหลักแล้วพูดภาษาอีสาน (Isan) บางที่สะกดในภาษาอังกฤษเป็น Esarn, Isaan, Issan, Thai Isaan นอกจากนี้ยังมีภาษาที่พูดกันในท้องถิ่นภาคอีสานอีกหลายภาษาขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้นๆ บางทีปรากฏว่าภาษาเดียวกันกระจัดกระจายไปทั่ว ภาษาท้องถิ่นบางภาษาที่คนพูดได้เป็นจำนวนน้อย และพบว่ามีการพูดภาษานั้นอยู่ในต่างประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากในประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีการอพยพถิ่นฐานจากต้นกำเนิดภาษากระจายตัวออกไป
ในประเทศไทยพบข้อมูลว่ามีภาษาท้องถิ่นมากกว่าเจ็ดสิบภาษา แต่ในที่นี้เราสนใจศึกษาภาษาถิ่นในภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด บางจังหวัดก็มีหลายภาษามาก ส่วนใหญ่เป็นภาษาพูดเท่านั้น ไม่ได้มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากในการเรียนการสอนนั้นใช้ภาษาจากทางราชการ นั่นก็คือภาษาไทยนั่นเอง สำหรับภาษาถิ่นนั้นพบการบันทึกด้วยภาษาไทยเช่นเดียวกัน
มาดูกันว่าภาษาท้องถิ่นในภาคอีสานมีภาษาอะไรบ้าง
- ภาษาอีสาน (Isan , Esarn , Isaan , Issan , Thai Issan)
- ภาษาโซ่(ทะวืง)
- ภาษาบรูตะวันตก ดงหลวง
- ภาษาจีนแคะ
- ภาษาเขมรในประเทศไทย
- ภาษากูย
- ภาษาญัฮกุร
- ภาษาญ้อ
- ภาษาเญอ
- ภาษาภูไท
- ภาษาแสก
- ภาษาโซ่
- ภาษาไทดำ
- ภาษาโย้ย
- ภาษาไทยสำเนียงโคราช (Khorat dialect)
อาจจะยังมีอีกหลายภาษาที่ยังไม่ได้รวบรวมเข้ามา ทีมงานอีสานร้อยแปดจะทยอยหาข้อมูลแล้วมาอัพเดทที่บทความนี้ ส่วนรายละเอียดของแต่ละภาษา เนื่องจากมีข้อมูลที่ละเอียดมากๆ เดี๋ยวจะขอยกมานำเสนอในโอกาสต่อไปครับ
อ้างอิง :
- https://www.ethnologue.com/country/TH/languages
- https://www.matichonweekly.com/column/article_48517
- https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาโซ่_(ทะวืง)
- http://www.langrevival.mahidol.ac.th/Research/website/st.html
- https://joshuaproject.net/languages/tts
- http://globalrecordings.net/th/language/tts
- http://globalrecordings.net/th/country/TH