การเลี้ยงโคขุน

การเลี้ยงโคขุน หมายถึง การเลี้ยงโคที่ยังอายุน้อยให้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ โดยการให้อาหารแก่โคที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งอาหารหยาบ และอาหารข้นอย่างเต็มที่ ในสภาพการเลี้ยงแบบขังคอกอย่างเดียวหรือร่วมกับการปล่อยแปลงหญ้า ทั้งนี้ โคพันธุ์พื้นเมือง เป็นโคที่เนื้อมีไขมันน้อย ไม่เป็นที่นิยมเลี้ยง เนื่องจากมีอัตราการเติบโตต่ำ น้ำหนักโคเมื่อขุนเสร็จประมาณ 380 กิโลกรัม ได้เปอร์เซ็นต์ซากประมาณ 51%

พันธุ์สัตว์

พันธุ์โคขุนที่ใช้ขุน ส่วนใหญ่จะเป็นโคเนื้ออายุมากหรือโคใกล้ปลดระวาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ลูกผสมโคเนื้อพันธุ์ต่างๆ หรือโคพื้นเมือง

อาหารที่ใช้

  • อาหารข้นเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงโคขุน เนื่องจาก การขุนโคมีระยะการเลี้ยงขุนเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งต้องทำให้โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นให้เร็วที่สุด วัตถุดิบที่เป็นอาหารข้นมาผสมกัน เช่น ข้าวโพด รำ และปลายข้าว กากมันสำปะหลัง กระดูกป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใบกระถิน ยูเรีย รวมถึงผงแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น
  • อาหารหยาบหญ้าสด คือ อาหารหยาบที่เป็นอาหารหลักของโค โดยหญ้าสดเป็นแหล่งเยื่อใยที่ช่วยระบบย่อยอาหาร แหล่งวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ
  • กากน้ำตาลเป็นผลพลอยได้จากการหีบอ้อย ซึ่งกากน้ำตาลอุดมไปด้วยอาหารประเภทแป้ง มีรสหวาน สัตว์ชอบกิน แต่มีโปรตีนน้อยมาก การให้โคกินจะไม่ให้ผสมกับน้ำ แต่จะใช้ราดใส่ในอาหารหยาบหรืออาหารข้น เช่น ราดผสมฟาง ราดผสมกับอาหารข้น เป็นต้น

การเลี้ยงดู

  • ช่วงเริ่มขุนให้ใช้อาหารข้นตามสูตรที่กล่าวมาแล้ว วันละ 2 ครั้ง
  • เป็นช่วงก่อนเดือนสุดท้ายของการขุน 1 เดือนให้เพิ่มการให้อาหารข้นเป็น วันละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งให้น้อยกว่าระยะแรกตัวละครึ่งกิโลกรัม
  • เดือนสุดท้ายของการขุนให้เปลี่ยนแปลงสูตรโดยการเพิ่มปริมาณมันเส้นเพื่อให้โคอ้วนเร็ว ในเดือนสุดท้าย ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง เช่นเดียวกับระยะที่สองคือให้น้อยกว่าปกติครึ่งกิโลกรัมเป็นการเร่งให้โคขุนมีความสม่ำเสมอในการกระจายไขมันพอกตัว ทำให้เนื้อที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ เมื่อตัดแต่งขายจะได้ราคาดีมากกว่าโคขุนที่มีการกระจายไขมันที่ไม่สม่ำเสมอ

โรงเรือนและอุปกรณ์

สถานที่ควรเป็นที่ดอนหรือสถานที่สูงกว่าพื้นที่รอบข้าง มีการระบายน้ำได้ดี หรืออาจต้องถมพื้นที่ให้สูงขึ้นกว่าระดับปกติเพื่อไม่ให้น้ำขังในฤดูฝน ขนาดของโรงเรือน โรงเรือนอาจสร้างเพียงคอกขังเดี่ยว แต่มีหลายๆ คอกตามจำนวนโค พื้นคอกควรเป็นพื้นคอนกรีตที่เท ควรหนาประมาณ 7 เซนติเมตร หลังคาวัสดุใช้ทำหลังคา เช่น กระเบื้อง สังกะสี แฝก หญ้าคาหรือจาก ตามด้วยรั้วรั้วกั้นคอก– รั้วกั้นคอกรอบนอกโดยรอบ ควรกั้นทั้ง 4 แนว แนวบนสุดให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อย 150 เซนติเมตร ส่วนรั้วคอกย่อยภายในให้กั้นอย่างน้อย 3 แนวและ รางอาหาร  รางอาหารควรสูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 80-90 เซนติเมตร ซึ่งก่ออิฐบล็อก

โรค การป้องกันโรค

โรคที่โคขุนมักเป็นประจำคือ โรคปากและเท้าเปื่อย ,uการป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย เมื่อโคอายุ 4 – 6 เดือนและซ้ำทุก 6 เดือน  ไม่ควรปล่อยให้สัตว์ป่วยกลางทุ่ง ควรมัดสัตว์ป่วยไว้เพื่อรักษาและมิให้โรคกระจาย และ โรคพยาธิภายนอกและภายในมี การป้องกันกำจัด เห็บ เหา แมลงดูดเลือด อย่างสม่ำเสมอ ลูกโค อายุ 2 เดือน และถ่ายพยาธิทุกหกเดือน

ต้นทุนและผลตอบแทน

การเลือกซื้อโคขุนจากแหล่งจำหน่ายโค คัดเฉพาะโคใหญ่ ที่มีน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100 – 105 บาท เฉลี่ยราคาโคขุนต่อตัวประมาณ 42,000 บาท จากนั้นก็นำโคใหญ่มาเลี้ยงด้วยอาหารหยาบ ซึ่งมีส่วนผสมของเปลือกสับปะรด หญ้าสับและฟางข้าว และอาหารข้น ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 4 เดือน โดยโคใหญ่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 240 กิโลกรัม เพื่อให้มีน้ำหนักพร้อมจำหน่ายขนาด 640 กิโลกรัม สามารถขายได้ผลตอบแทน 60,000-100,000 บาทเลย

ข้อมูลและภาพประกอบ

  • หนังสือ 123 อาชีพทางเลือก
  • modernlessons.com

 


มี 1 บทความลิงก์มาที่การเลี้ยงโคขุน

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*