ศาลเจ้าแม่สองนาง บึงกาฬ

ศาลเจ้าแม่สองนาง บึงกาฬ

สืบเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้มีหญิงสาวสองคนสิ้นชีวิต เหตุเกิดจากแม่น้ำนั้น ที่แห่งนั้นกลายเป็นที่เล่าขานกันต่อมาในเรื่องของความรู้สึกยังมีคนคอยปกปักรักษาอยู่ ความเชื่อ ความศรัทธา เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่นี่ และตำนานความศักดิ์สิทธิ์ริมแม่น้ำโขงก็ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้

“ศาลเจ้าแม่สองนาง จังหวัดบึงกาฬ” จังหวัดใหม่จังหวัดที่ 77 ของไทย มีตำนานลึกลับริมแม่น้ำโขงที่ถูกเล่าต่อกันมานานแสนนานแล้ว ซึ่งเรื่องราวที่ถูกเล่าต่อๆมานั้นอาจจะมีการบิดเบือนไปได้บ้างตามกาลเวลา แต่ถึงอย่างไรก็ตามขาวจังหวัดบึงกาฬ ก็ยังให้ความเคารพศาลเจ้าแม่สองนาง ที่มีความเชื่อว่าคอยปกปักรักษาทุกที่อยู่ดี”

แก่งอาฮง

แก่งอาฮง

    เรื่องราวที่ถูกเล่าต่อกันมาเกี่ยวกับศาลเจ้าแม่สองนาง เป็นเรื่องราวความเชื่อที่ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ฟังด้วยว่าจะมีความเชื่อเช่นไร เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับความลึกลับของแม่น้ำโขง ว่าอาจจะมีอะไรบางอย่างทำให้เป็นไป เกี่ยวข้องกับงู พญานาค สิ่งลึกลับใต้น้ำ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้มีการสิ้นชีวิตของเจ้าหญิงจากลาว 2 คน ธิดากษัตริย์จากลาวผู้สูงศักดิ์ได้มาจบชีวิตที่แม่น้ำแห่งนี้ เรื่องราวน่าสลดใจเกี่ยวเนื่องไปกับความเชื่อที่ว่า ธิดาทั้งสององค์นั้นถูกพญานาคเอาไปทำเมีย จากการสิ้นชีวิตลงไป หลายคนเชื่อว่าธิดาทั้งสองเกิดเป็นพญานาคี เพื่อดูแลรักษาลุ่มแม่น้ำโขงจวบจนวันนี้ จนกระทั่งมีการจัดตั้งศาลเจ้าแม่สองนางขึ้น

ซึ่งขอบอกไว้ก่อนว่า ศาลเจ้าแม่สองนาง บึงกาฬ ไม่ได้มีเพียงแค่ศาลเดียวเท่านั้น มีการสร้างขึ้นหลายแห่งเพื่อให้คนได้มีโอกาสกราบไหว้ได้มากขึ้น ตัวศาลที่สร้างขึ้นมาแต่ละแห่ง สังเกตได้ง่ายๆว่าจะมีสีทองและสีแดงเป็นหลัก เมื่อมองเข้าไปภายในศาลก็จะได้พบกับรูปปั้นหญิงสาวมวยผมยาวสองคน ซึ่งถ้าใครเกิดลุกขึ้นมากราบไหว้ในตอนกลางคืนก็คงได้ขนลุกเป็นแน่ แต่จุดประสงค์ของการกราบไหว้ศาลเจ้าแม่สองนางนั้น เพื่อขอพรให้เดินทางปลอดภัย ราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินทางทางแม่น้ำ เพราะเชื่อว่าเจ้าแม่สองนางจะคอยปกปักรักษาเป็นอย่างดี

ส่วนเรื่องประเพณีเกี่ยวกับศาลเจ้าแม่สองนางบึงกาฬ จะมีการสักการะครั้งใหญ่ในงานแข่งเรือประจำปีประจำแม่น้ำโขง ซึ่งมีทั้งชาวไทยที่อยู่จังหวัดบึงกาฬ นักท่องเที่ยวไทย ชาวเวียดนาม ชาวลาว มาร่วมงานพิธีด้วย เพราะมีความเชื่อในเรื่องนี้เหมือนกัน มีการแข่งเรือกันอย่างสนุกสนาน มีการทรงเจ้า เป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวจังหวัดบึงกาฬนั้นมักจะทำเป็นประจำทุกปี

แหล่งอ้างอิง:

  • http://xn--12cl0dxd3av.com/index.php?page=article-view-detail&id=137

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*