Enter your email address below and subscribe to our newsletter

เรือมอันเร

เรือมอันเร

เรือมอันเร นั้น จะเล่นกันในช่วงของวันหยุดสงกรานต์ โดยชาวบ้านจะเล่นเรือมอันเรที่ลานบ้านหรือว่าลานวัด เรือม แปลว่า รำ  อันเร  แปลว่า สาก  ดังนั้น เรือมอันเร จึงแปลว่า การรำสาก เป็นการรำเพื่อความสนุกสนานในยามพักผ่อน  ส่วนมากผู้ที่อยู่ในวงรำสากจะเป็นหญิงล้วน  ส่วนหนุ่มๆจะมาเป็นกลุ่มยืนชมสาวที่กำลังรำอยู่ หากชอบคนไหนก็เข้าไปรำด้วย

Share your love

เรือม แปลว่า “รำ”  อันเร  แปลว่า “สาก”  ดังนั้น เรือมอันเร จึงแปลว่า การรำสาก

การเรือมอันเรนั้น จะเล่นกันในช่วงของวันหยุดสงกรานต์ โดยชาวบ้านจะเล่นเรือมอันเรที่ลานบ้านหรือว่าลานวัด

เครื่องดนตรี

การเรือมอันเรมีการใช้เครื่องดนตรีประกอบคือ  กลองโทน 1 คู่ ปี่ใน 1 เลา ซออู้เสียงกลาง 1 คัน ฉิ่ง  กรับ  ฉาบ อย่างละ 1 คู่ และมีอุปกรณ์ประกอบการเล่นเรือมอันเร คือ สาก 2  อัน ยาวประมาณ 2-3 เมตร  ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีหมอนวางรองหัว- ท้ายสาก   มีความยาว 1.50 เมตร สูงประมาณ 3-4 นิ้ว

เรือมอันเร
เรือมอันเร

ทำนองและจังหวะในการรำ

ในการรำในสมัยก่อนมีเพียง 3  จังหวะ  คือ จังหวะจืงมูย(ขาเดียว)  จังหวะมลปโดง(ร่มมะพร้าว)  จังหวะจืงปีร์(สองขา)  ต่อมามีการพัฒนาท่ารำเพิ่มขึ้นรวมเป็น 5 จังหวะ  ดังนี้
จังหวะไหว้ครู
จังหวะกัจปกา
จังหวะจืงมูย
จังหวะมลปโดง
จังหวะจืงปีร์

ท่าฟ้อนรำ

ในสมัยก่อนไม่มีท่ารำที่เป็นแบบแผนแน่นอน  เพราะว่าเป็นการรำเพื่อความสนุกสนานในยามพักผ่อน  ส่วนมากผู้ที่อยู่ในวงรำสากจะเป็นหญิงล้วน  ส่วนหนุ่มๆจะมาเป็นกลุ่มยืนชมสาวที่กำลังรำอยู่ หากชอบคนไหนก็เข้าไปรำด้วย  แต่ในปัจจุบันการเรือมอันเรได้มีการพัฒนาไปสู่แบบแผน  และเนื่องจากมีการส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีคล้องช้างประจำปี(งานแสดงช้าง)จ.สุรินทร์ การเล่นเรือมอันเร จึงกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของงาน เพราะมีการนำเอาเรือมอันเรมาแสดงในงานช้างทุกปี แลยังใช้แสดงเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนอีกด้วย

การแสดงเรือมอันเร
การแสดงเรือมอันเร

การแต่งกาย

แต่เดิมไม่พิถีพิถัน  แต่งกายตามสบาย  แต่หากแต่งให้สวยงามตามประเพณีแต่โบราณ คือ ชาย นุ่งโจงกระเบน   สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น  ผ้าขาวม้าคาดเอวและพาดไหล่
หญิง นุ่งผ้าไหมพื้นเมือง เรียกว่า “ซัมป็วตโฮล” สวมเสื้อแขนกระบอกมีสไบพาดไหล่มามัดรวบไว้ที่ด้านข้าง สวมเครื่องประดับเงิน   และมีดอกไม้ทัดผม

Alitta Boonrueang
Alitta Boonrueang
Articles: 524

One comment

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *