แมงปุ๋ม แมงขุม แมงซ้าง

ชื่อพื้นเมือง แมงปุ๋ม  แมงซ้าง  แมงหลุม  แมงขุม แมงบุ๋ม   กุดต้ม(นักล่าแห่งผผืนทราย)
ชื่อสามัญ antlion
วงศ์  Myrmeleontidae.
อันดับ Neuroptera

เป็นชื่อของตัวอ่อนของแมลงชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในหลุมทราย คอยจับเหยื่อ
ที่ตกลงหลุมมาเป็นอาหาร เช่น มด และ แลงคลานชนิดอื่น ๆ
ในประเทศไทย มีการศึกษาแมลงในวงศ์นี้น้อยมาก มีรายงานการพบ
และทราบชื่อแล้วเพียง  2 ชนิดเท่านั้น

ถิ่นอาศัย

วัยตัวอ่อน อาศัยขุดหลุมตาม พื้นดินทราย หรือ ดินร่วน ตามลาน
ตามพื้นที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ต่าง ๆ
ระยะตัวอ่อนอาศัยอยู่ในทรายหรือดินละเอียด อาจอยู่ใต้หลังคาหรือในที่ไม่มีฝนตกหรือน้ำค้างตกใส่ จะสร้างหลุมเป็นรูปกรวย มักพบในพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ชนบท แต่ไม่ค่อยพบในเขตเมือง

ที่อยู่อาศัยของแมงแมงซ้าง

ที่อยู่อาศัยของแมงแมงซ้าง

อาหาร

แมลงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่แล้วเป็นมด แมงมุมขนาดเล็ก และแมลงชนิดต่างๆ

ลักษณะนิสัย

มุดตัวลงไปใต้พื้นทราย แล้วใช้ขากรรไกรโยนทรายขึ้นมาหลุม จนหลุมมีลักษณะเป็นรูปกรวย โดย ตัวอ่อนของแมลงช้างจะซ่อนตัวอยู่ใต้ก้นหลุม เพื่อดักจับเหยื่อที่เป็นแมลงขนาดเล็ก เมื่อแมลงตกลงไปในหลุมจะไม่สามารถขึ้นมาได้ เพราะทรายในบริเวณขอบหลุมจะยึดตัวกันหลวม ๆ  เมื่อแมลงพยายามเดินขึ้นมาจะลื่นไถลตามทรายตกลงสู่ก้นหลุม  ตัวอ่อนแมลงช้างที่อยู่ก้นหลุมก็จะใช้ขากรรไกรกัดและดูดเหยื่อเป็นอาหาร

วิธีขุดหลุม

ใช้ก้นไถพื้นทรายเป็นวง และใช้หัวและขากรรไกรที่เหมือนเขี้ยว เหวี่ยงสะบัดทรายที่ขึ้นมาอยู่ข้างบนออกไปเรื่อย ๆ ก็จะได้หลุมรูปกรวยภายในเวลาอย่างน้อย 15 นาที
หลุมของแมลงช้างจะมีความสัมพันธ์ตามขนาดของตัวอ่อนแมลงช้าง
จะเห็นว่าขอบในของที่ดูเป็นเขี้ยว อันที่จริงคือขากรรไกร จะมีเป็นหนามแหลมซึ่งมีรูเล็ก ๆ อยู่ สำหรับปล่อยพิษ   เข้าไปในตัวมดที่เป็นเหยื่อของมัน และดูดน้ำในตัวมดเป็นอาหาร จนตัวมดแห้งเหลือแต่เปลือก มันก็จะเหวี่ยงซากมดออกไปจากหลุม
ของมัน และเตรียมพร้อมสำหรับรอเหยื่อรายใหม่

วงจรชีวิต

ถ้าเราเข้าใจว่า “แมงช้าง” มันเป็นตัวอย่างนี้เท่านั้น ก็เป็นการเข้าใจผิด เพราะนี่มันเป็นเพียง “ตัวอ่อน” larva  ที่ฟักออกจากไข่เท่านั้น แต่เป็นช่วงชีวิตที่ยาวนานที่สุดของมัน นับตั้งแต่ออกจากไข่ เป็น”ตัวอ่อน” อย่างที่เห็นนี้ ทำหลุมดักมดหากินอยู่ในดิน นานถึง 2 – 3 ปี กว่าจะเข้าสู่ระยะเป็นดักแด้ ที่ฝังลึกลงไปใต้ดินถึง 10 ซม. ฟักตัวอยู่ 2 – 3 อาทิตย์ จึงออกจากดักแด้ คลานขึ้นมาจากใต้ดิน มีปีก และภายใน 20 นาทีก็บินไปหาคู่ผสมพันธ์กัน ตัวที่โตเต็มที่แล้ว มีทั้งชนิดที่คล้ายผีเสื้อ และที่คล้ายแมลงปอ แต่เวลาเกาะปีกทั้งสองข้างจะไม่ขนานกัน แต่จะทำมุมแหลมเป็นรูปตัววี ปีกมีเส้นเป็นร่างแห สังเกตความแตกต่างกันได้ตรงที่ “แมงช้าง” จะมีปลายหนวดเป็นปุ่ม และเป็นตัวที่ชอบออกมาตอนเย็นหรือกลางคืน
พบในที่มีแสงนีออน หรือตามกระจกหน้าต่างที่มีแสงไฟสว่าง ตัวเต็มวัยจะหาคู่ผสมพันธ์แล้วก็ไปวางไข่ไว้ในดินที่แห้งร่วนต่อไป ตัวเต็มวัย มีอายุประมาณ 30- 45 วัน


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*