การสืบทอดภาษาอีสาน

การสืบทอดภาษาอีสาน

มีโอกาสได้อ่านบทความเรื่อง “การสืบทอดภาษาอีสาน”  ของอาจารย์สราภรณ์ สุวรรณแสง และ อาจารย์รัตนา จันทร์เทา อาจารย์พิเศษ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยขอนแก่น ในวารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2559 ทีมงานอีสานร้อยแปดเห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้ที่ค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะทางอินเทอร์เน็ต เราจึงขออนุญาตินำมาเผยแพร่ต่อทางเว็บไซต์ โดยมีเนื้อหาของบทความดังกล่าวที่เขียนไว้เกี่ยวกับ “การสืบทอดภาษาอีสาน” ดังนี้

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้กล่าวถึงภาษาอีสานในหลายมิติได้แก่ ประวัติภาษา
การพูดภาษาอีสาน อักขรวิธี พัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาระบบการเขียนภาษาอีสาน และแนวทางการสืบทอดภาษาอีสาน บทความนี้รวบรวมข้อมูลภาษาอีสานจากตำราที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์นักวิชาการทางด้านวัฒนธรรม และนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่การนำเสนอตามประเด็นการวิเคราะห์ พบว่าปัจจุบันภาษาอีสานในฐานะภาษาถิ่นมีผู้พูดจำนวนมากทั้งในภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วยังมีผู้พูดกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ผู้เขียนยังมีจำนวนน้อย บทบาทของภาษาอีสานในปัจจุบันไม่เพียงเป็นเครื่องมือสื่อสารในท้องถิ่นเท่านั้น ภาษาอีสานยังมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างความมั่นใจที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของท้องถิ่นด้วย ดังนั้นหลายหน่วยงานโดยเฉพาะภาครัฐจึงให้ความสำคัญกับการสืบทอดการเรียนรู้ภาษาอีสานแก่เด็ก ๆ อย่างไรก็ตามการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอีสานในระดับโรงเรียนยังมีข้อจำกัดหลายประการซึ่งหน่วยงานภาครัฐและคนอีสานเองจะต้องช่วยกันแก้ไขเพื่อหาแนวทางการสืบทอดภาษาอีสานให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

Abstract

This article states Isan language in various dimensions: language history,usage, orthography, revitalization, teaching and learning, and language inheritance. The Isan language data were grouped from books and cultural academic interview. These data were categorized to present that Isan language as the main dialect of Isan
or northeastern region through the country has an important role. The role of Isan language is not only communicational medium, but it also plays a crucial role in local identity and builds the confidence of person linking to local stability. Therefore, there are many government’s institutes that focus on the revitalization and learning Isan language for their children. However, the development of Isan language teaching and learning in schools still has several limitations that the government and Isan people should help together to find out how to maintain Isan language sustainably.
Keywords: Isan language, Dialect, Mother tongue learning, Language heritance

บทนำ

กระแสโลกาภิวัตน์ในยุคแห่งการส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวาง สังคมจึงกลับมาให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือพหุวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นเพื่อทำความเข้าใจ และให้สิทธิ เสรีภาพต่ออัตลักษณ์ที่แตกต่างกันในสังคมอย่างเท่าเทียม เป็นผลให้ในระยะหลังมีการศึกษา ค้นคว้าวิจัยอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภาษาถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการที่เรียนรู้อัตลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะนอกจาก จะเป็นเครื่องมือสื่อสารแล้ว ภาษายังสรรสร้าง ถ่ายทอดถึงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในสังคม ดังนั้นการคงอยู่ของภาษาจึงเชื่อมโยงกับการคงอยู่ของอัตลักษณ์วัฒนธรรมด้วย

ภาษาอีสาน เป็นภาษาถิ่น (Dialect) หลักและภาษาแม่ (Mother tongue)ของคนอีสานในภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผู้พูดประมาณร้อยละ 95 ของประชากรทั้งภูมิภาค (ไพฑูรย์ มีกุศล2517: 1) ภาษาอีสานหรือบางคนเรียกว่าภาษาลาว นั้นมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ของผู้ใช้ภาษา
ดังที่ ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ (2548: 86) กล่าวถึงประวัติการย้ายถิ่นฐานของชาวอีสานในอดีต กล่าวคือชาวลาวที่อพยพเข้ามาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงดังแต่ใน พุทธศตวรรษที่ 21 และได้อพยพเข้ามาอยู่ในแถบตอนกลางของอีสานในปีพ.ศ. 2261 ได้แก่ บริเวณอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เหตุการณ์อพยพที่สำคัญอีกครั้งในช่วงสมัยที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองของกษัตริย์ลาว คือ พระเจ้าศิริบุญสาร และเสนาธิบดีหรือ พระวอ พระตา เป็นผลให้เกิดการอพยพชาวลาวจำนวนมากมาตั้ง ถิ่นฐานและกระจายตามฝั่งขวาแม่น้ำโขง ทให้ภาษาอีสานมีลักษณะทางภาษาหลายประการคล้ายคลึงกับภาษาลาวที่ใช้อยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน

แม้อีสานจะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทยมาตั้งแต่สมัยธนบุรีจนถึงปัจจุบันแต่ใน ช่วงสมัยหลังการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2435 ที่ประเทศไทยมีนโยบายเพื่อสร้างความเป็นรัฐชาติจึงมีการจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาที่ใช้หลักสูตรจากส่วนกลาง ตาม พ.ร.บ.ประถมศึกษา พ.ศ.2464 (เบญจวรรณ นาราสัจจ์, 2551)

ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของอีสานที่ ต้องปรับเข้าสู่ส่วนกลางรวมไปถึงการใช้ภาษาที่ทางโรงเรียนจะเน้นการ เรียนการสอนและการสื่อสารด้วยภาษาไทยกลางทำให้ความสำคัญและบทบาทของภาษาอีสานลดน้อยลงทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน

อย่างไรก็ตามในช่วงสามสี่ทศวรรษที่ผ่านมาเกิดกระแสการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีรากฐานเกี่ยวกับความเท่าเทียมในด้านสิทธิเสรีภาพของมนุษย์และการเล็งเห็นว่าความเข็มแข็งของวัฒนธรรมจะสามารถสร้างการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ ได้ จึงเป็นผลให้ในแต่ละสังคมกลับมาให้ความสำคัญต่อกลุ่มชนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดการฟื้นฟูภาษาถิ่นขึ้น รัตนา จันทร์เทาว์ (2550) ได้เขียนบทความเรื่อง ลมหายใจภาษาไทย
ถิ่นอีสาน เสนอว่าภาษาอีสานควรจะมีหน่วยงานที่ดูแลและฟื้นฟูอย่างจริงจังปัจจุบันภาษาอีสานได้รับการฟื้นฟูระบบการเขียนและเผยแพร่ในสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้น เรียน ทั้งนี้ใน ส่วนของการเรียนการสอนภาษาอีสานนั้นนับว่าเป็นเรื่องยากและท้าทายสำหรับผู้สอนเพราะจากการที่ชาวอีสานใช้ภาษาไทยกลางปนกับภาษาอีสานมาเป็นระยะเวลานาน(Rattana Chanthao 2002) อีกทั้งลักษณะเฉพาะบางประการที่มีความเหมือนและแตกต่างกันระหว่างภาษาอีสาน กับภาษาไทยกลาง ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนเกิดความ สับสน นอกจากนี้ในส่วนของการเขียนอักษรไทยน้อย ยังมีผูที่สามารถเขียนได้จำนวนน้อย ดังนั้น จึงน่าสนใจว่าแต่เดิมภาษาอีสาน มีการถ่ายทอดอย่างไรและมีพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอีสานจากอดีตสู่ปัจจุบันอย่างไร รวมถึงเราจะมีแนวทางใดที่จะช่วยรักษาและสืบทอดภาษาอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของถิ่นอีสานให้คงอยู่

การพูดภาษาอีสานในปัจจุบัน

ในอดีตภาษาอีสานถูกลดความสำคัญและศักดิ์ศรีทางภาษาลง(Language Prestige) ทำให้คนอีสานไม่นิยมพูดภาษาอีสานแต่ปัจจุบันสังคมไทยเปิดกว้างต่อการแสดงอัตลักษณ์มากขึ้น อีกทั้งหน่วยงานหลายแห่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่น และสนับสนุนการฟื้นฟูการใช้ภาษาถิ่น ทำให้คนอีสานมีความมั่นใจในการพูดภาษาอีสานมากขึ้นในหลายบริบท ผลสำรวจของเทศบาลนครขอนแก่นสหภาพยุโรป และวิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2556)เรื่องทัศนคติเกี่ยวกับหลักสูตรภาษาอีสานของโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมอีสาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการใช้ภาษาอีสานในชีวิตประจำวันคิดเป็นร้อยละ 71 และจากการจัดทำเอกสารคู่มือภาษาอีสานสำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ของ จิรนันท์ โกมลกิติสกุล (2534) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความเข้าใจระหว่างการสนทนาของแพทย์และคนไข้ในโรงพยาบาลในจังหวัดขอนแก่น สะท้อนให้เห็นถึงอุปสรรคความแตกต่างระหว่างการใช้ภาษาไทยกลางของแพทย์และการใช้ภาษาอีสานของคนไข้นั้นอาจจะมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันซึ่งจะส่งผลต่อแนวทางการรักษาการพูดภาษาอีสานของคนอีสานในปัจจุบันปรากฏทั้งในรูปแบบการสื่อสารด้วยภาษาอีสานตลอดบทสนทนา หรือการสนทนาภาษาอีสานปนกับภาษาอื่น ๆ รวมถึงการสลับภาษาอีสานกับภาษาไทยกลาง เช่นในงานวิจัยเรื่อง “การสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นอีสานของนักจัดรายการวิทยุในเขตเทศบาลเมื่อง จังหวัดขอนแก่น” ของเมตตา ฟองฤทธิ์ (2556) และงานของนนทิญา พันธ์โชติและรัตนา จันทร์เทาว์ (2558) พบว่า ในหนังสือพิมพ์รายวันท้องถิ่นที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่นนั้น มีการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมอีสาน และมีการใช้ คำศัพท์ภาษาอีสานในหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงการใช้ภาษาอีสานในสื่อมวลชนนั้นชี้ให้เห็นว่าภาษา อีสานไม่ได้อยู่เพียงแค่ในพื้นที่ภูมิภาคอีสาน แต่ยังมีการใช้ภาษาอีสานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปยังต่างประเทศที่มี
คนอีสานอาศัยอยู่เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอีสาน ทำให้ภาษาอีสานเป็นวัฒนธรรมที่เดินทางได้ (Travelling Culture) ตามแนวคิดของ John Tomlinson (2542)ที่กล่าวว่าในยุคโลกาภิวัตน์ สื่อวิทยุเป็นิงที่จทำให้วัฒนธรรมสังคมหนึ่งเดินทางไปสู่สังคมอื่นๆ ได้ ยิ่งไปกว่านั้นสื่อบุคคลก็ทำให้เกิดการ เดินทางของวัฒนธรรม กล่าวคือคนอีสานได้เคลื่อนย้ายไปอาศัยในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงส่วนกลางเป็นผลให้ปรากฎการใช้ คำในภาษาอีสานผ่านสื่อมวลชนส่วนกลาง เช่น เพลงลูกทุ่ง โฆษณา บทสนทนาในละคร ฯลฯ โดยมากจะพบในรูปแบบคำศัพท์ เช่น คำว่า “แชบ” , “นัว”, “ฮัก”,”บ่” เป็นต้น ทำให้คนอีสานเกิดความมั่นใจในการพูดภาษาอีสานมากขึ้น

ภาษาอีสานในปัจจุบันน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเพราะสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ศัพท์และสำเนียงจึงแตกต่างไปตามพื้นที่ และอายุของผู้พูด งานวิจัยของ อรพัช บวรรักษา (2546) เรื่อง อิทธิพลของภาษาไทยกรุงเทพฯ
กับการ ใช้คำของผู้พูดภาษาไทยอีสาน จังหวัดชัยภูมิ แบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาอีสานเป็น 3 ช่วงอายุ ผลการ วิจัยแสดงให้เห็นว่ามีคำศัพท์ที่คนอีสานใช้คำไทยกลางแทนคำศัพท์เดิมของภาษาอีสาน เช่น /ทัว:/ แปรเป็น /kha ji: (ข), /sia / แปรเป็น/haj7 (หาย) เป็นต้น นอกจากนียังมีการสร้าง ศัพท์ใหม่ผสมระหว่างคำอีสานกับคำไทยกลาง มีการเปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงภาษาไทยกลาง ซึ่งพบการเปลี่ยนแปลงมากในกลุ่มอายุที่น้อยมากที่สุด นอกจากนี้จากการ ที่ชาวอีสานย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่ภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงผลจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้มีการรับเอาคำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้ในสังคมไทยเป็นผลต่อการ เปลี่ยน เพิ่ม และลดเสียงในภาษาอีสานตามไปด้วยทำให้การพูดภาษาอีสานมีการพูดปนหรือสลับกับภาษาอื่น ดังนั้นการกำหนดนโยบายภาษาที่ส่งเสริมการพูดภาษาอีสานและการเรียนการสอนภาษาอีสานที่มีแนวทางด้านอักขรวิธีและการออกเสียงคำที่ชัดเจนจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะช่วย
ให้การพูดภาษาอีสาน มีการสืบทอดต่อไป ทั้งนี้ถึงแม้จะยังมีเง่อนไขทางสังคมบางประการ ที่ไม่สามารถ สื่อสารเป็นภาษาอีสานได้ในทุกบริบทและทุกสถานการณ์แต่จากปรากฏการณ์ทางสังคมที่กล่าวมาข้างต้น้แสดงให้เห็นโอกาสในการสืบทอดและการเผยแพร่การพูดภาษาอีสานให้ขยายวงกว้างมากขึ้น ก็จะทำให้ภาษาอีสานยังคงดำรงอยู่ต่อไปได้

อักขรวิธีภาษาอีสาน

ประวัติการใช้ตัวอักษรที่บัน ทีกภาษาอีสานนั้น ธวัช ปุณโณทก และวิมลเขตตะ(2548) ได้กล่าวถึงประวัติตัวอักษรของภาษาอีสานมีชื่อเรียกว่า “อักษรไทยน้อย”ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้ควบคู่มากับอักษรธรรมในสังคมลุ่มแม่น้ำโขงแตโบราณ กล่าวคืออักษรไทยน้อยใช้เป็นอักษรราชการของอาณาจักรล้านช้างใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ เช่น หนังสือราชการ กฎหมายวรรณกรรมนิทาน ฯลฯ ส่วนอักษรธรรมใช้ในการบันทึก

พระคัมภีร์ตำราวิชาการ ชาดก อาถาอาคมจึงถือว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตัวอักษรอีสานในที่น้จหมายถึงอักษรไทยน้อยอันเป็นอักษรที่พัฒนาจากอักษรไทยสุโขทัยและพัฒนาสืบเนื่องต่อมากลายเป็นอักษรลาวในปัจจุบัน

ตามหลักฐานต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ คือ ศิลาจารึกในภูมิภาคอีสานประกอบกับหลักฐานทางด้าน ประวัติศาสตร์สันนิษฐานได้ว่าอักษรไทยน้อยพัฒนามาจากอักษรไทยสุโขทัยเป็นต้นแบบ (Prototype) เพราะในจารึกลายเขียนสีที่ผนังถ้ำนางอันห่างจากหลวงพระบางไปทางทิศตะวันออก 25 กิโลเมตร พบรูปแบบตัวอักษรและอักขรวิธีลักษณะเดียวกับอักษรสมัยพระเจ้าลิไทแห่งสุโขทัย (พ.ศ. 18901911แต่ไม่ปรากฏศักราชจึงลงความเห็นว่าเป็นตัวอักษรแบบอย่างจากลายสือไทยแต่หลังจาก พ.ศ. 2000 พบศิลาจารึกจำนวนมากที่เขียนด้วยอักษรไทยน้อยและมีรูปสัณฐานตัวอักษรใกล้เคียงกับอักษรไทยฝักขามของอาณาจักรล้านนา(ภาคเหนือ) อันเป็นผลมาจากการที่ดินแดนลุ่มน้ำโขงได้รับวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาจากอาณาจักรล้านนาไทย เนื่องด้วยความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเครือญาติของเจ้าครองนครทั้งสองอาณาจักร ทำให้ตัวอักษรในดินแดนลุ่มน้ำโขงได้รับอิทธิพลจากอักษรไทยฝักขามของอาณาจักรล้านนา กอปรกับชาวล้านช้างมีอักษรธรรมที่มีสัณฐานเดียวกับอักษรยวนล้านนาเมืองเชียงใหม่จึงทำให้รับอักษรไทยฝ่กมาขามได้ง่าย ขึ้นดังนั้นอักษรไทยสุโขทัย อักษรไทยฝักขามและอักษรธรรมจึงเกิดการรวมตัวกันและพัฒนารูปแบบอักษรเฉพาะขึ้นที่เรยกว่า “อักษรไทยน้อย”ที่กลายเป็นอักษรของภาษาอีสานและพัฒนาเป็นอักษรลาวในปัจุบัน สาเหตุบางประการทำให้ตัวอักษรไทยน้อยมีลักษณะคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับอักษรไทยปัจจุบันและอักษรลาวปัจจุบันมีรายละเอียดดังตารางที่ 1

สรุปอักษรและเครื่องหมายของไทยน้อย

สรุปอักษรและเครื่องหมายของไทยน้อย

การประสมอักษรของไทยน้อยส่วนมากเหมือนกับอักขวิธีของอักษรไทยและอักขรวิธีของลาวปัจจุบันแตกต่างตรงมีอักขรวิธีของอักษรธรรมปะปนอยู่บ้างกล่าวคือ อักษรไทยน้อยจะวางพยัญชนะต้นทั้งพยัญชนะเดี่ยวและพยัญชนะควบกล้ำไว้บนบรรทัด และวางสระไว้รอบพยัญชนะต้นคือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบน ด้านล่างเหมือนอักขรวิธีไทยปัจจุบัน ตัวสะกดวางไว้บนบรรทัดเดียวกับพยัญชนะ ซึ่งตัวสะกด เขียนเต็มตัว เช่น

การเรียนการสอนภาษาอีสาน

สมัยก่อนการเรียนภาษาอีสานจะถ่ายทอดด้วยกระบวนการสื่อสารด้วยการพูดกล่าวคือ การถ่ายทอดการใช้ภาษาจากผู้ใหญ่สู่เด็ก เด็กก็จะเรียนรู้จากการได้ยินและเลียนแบบจนสามารถพูดภาษาอีสานได้เหมือนการเรียนภาษาแม่โดยทั่วไปมาถึงระยะเวลาหนึ่งที่คนอีสานต้องรับวัฒนธรรมจากส่วนกลางและวัฒนธรรมสากลเข้าสู่สังคมทำให้การพูดของเด็กอีสานมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น การพูดแบบสลับและปนภาษากลางกับภาษาอีสานมากกว่าการพูดภาษาอีสานตลอดบทสนทนา หรือที่เรียกว่าการสลับภาษา (Code-switching) ตามบริบทการพูด การเลือกพูดภาษาอีสานแบบมีเงื่อนไขตามสถานการณ์การพูดหรือที่เรียกว่า การเลือกใช้ภาษา(Language choice) ของผู้พูดสองภาษา (Bilingual) โดยจะพูดภาษาอีสานเฉพาะในบางสถานการณ์ บริบท และบุคคลที่สนทนาด้วย ดังนั้นการพูดภาษาอีสานจึงยังคงมีการเรียนรู้สืบทอด เพียงแต่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม

ขณะที่การพูดอีสานยังคงดำารงอยู่แต่สิ่งที่สวนทางกันคือการเขียนภาษาอีสานกลับค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคม เด็กในสมัยใหม่มีผู้ที่ทราบว่าภาษาอีสานมีอักษรหรือภาษาเขียนเป็นของตัวเองนั้นมีจำนวนน้อยมาก กอปรกับ ตัวอักษรไทยน้อยและอักษรธรรมอีสานจะพบในศิลาจารึก หนังสือจุ้ม ใบลานฯลฯ ทั้งนี้โบราณวัตถุดังกล่าวโดยมากถูกเก็บรักษาอยู่ในวัด พิพิธภัณฑ์ และสำนักวัฒนธรรมต่างๆ ดังนั้น การเรียนการสอนอักษรไทยน้อยและอักษรธรรมอีสานในยุคแรกเริ่มจึงเริ่มต้นที่วัดชอบ ดีสวนโคก (2559: สัมภาษณ์) กล่าวว่าการเรียนการสอนอักษรไทยน้อยในยุคแรกเริ่มเป็นการสอนเพิ่มเติมเนื้อหาของรายวิชาอื่นๆ ไม่ได้มีชื่อวิชาชัดเจนและไม่ได้มีอยู่ในหลักสูตรใด ส่วนใหญ่ผู้ที่ศึกษาได้แก่ พระสงฆ์ อาจารย์ นักวิชาการ และนักปราชญ์ผู้สนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมอีสาน สถานที่ในการสอนคือ วัดต่างๆ ในภาคอีสาน เช่นวัดธาตุพระอารามหลวง จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น วัดมหาชัยพระอารามหลวง จังหวัดมหาสารคาม วัดมหาธาตุยโสธรจังหวัดยโสธร เป็นต้น ช่วงต่อมาการเรียนการสอนภาษาอีสานได้พัฒนามากขึ้น เนื่องจากมีหลายมหาวิทยาลัยหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อาทิ สาขาภาษาไทย สาขาวัฒนธรรมมีนโยบายและส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอีสานโดยเปิดเป็นวิชาในหลักสูตรให้กับนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา เช่น วิชาวัฒนธรรมอีสานภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น สอนโดย อุดม บัวศรี วิชาภาษาและอักษรอีสาน ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันตกมหาวิทยาลัยรามคำแหง สอนโดยอดุลย์ ตะพัง ซึ่งเป็นนักวิชาการผู้บุกเบิกการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมอีสานในช่วงแรกๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสถาบันที่มุ่งฟื้นฟูและส่งเสริมการเรียนอักษรไทยน้อยและวัฒนธรรมอีสาน เช่น ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์อนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น

นอกจากการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่มีใจความส่วนหนึ่งว่าให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เรียกว่า การจัดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ทำให้สถาบันการศึกษาระดับโรงเรียนมีการจัดรายวิชาและแบบเรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้น
ดังเช่น มีการเกิดการสร้างกลยุทธ์ทางการเรียนการสอนของโรงเรียนเขตเทศบาลนครขอนแก่นปี พ.ศ. 2551 โดยเริ่มจากการนำนิทาน “สินไซ” เข้ามาบูรณาการกับการเรียนการสอนในระดับประถมและมัธยมศึกษา ต่อมาปีพ.ศ. 2553 ผลงานวิจัยของ John Draper (2553) สรุปได้ว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานพบว่า ร้อยละ 95 ของกลุ่มตัวอย่างมีความพอใจหากมีการบรรจุภาษาอีสานลงในหลักสูตรการเรียนการสอน และร้อยละ 64 มีความพอใจที่จะให้โรงเรียนสอนการเขียนภาษาอีสานให้กับนักเรียนในโรงเรียน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2556 วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่นจัดทำโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมอีสานประจำเทศบาลนครขอนแก่น โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปซึ่งผู้ประสานงานคือ John Draper โครงการนี้ได้จัดอบรมเรื่องประวัติความเป็นมาและอักขรวิธีอักษรไทยน้อยให้แก่โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองขอนแก่น
จำนวน 11 โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 9 ศูนย์ประกอบด้วยครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างจำนวน 731 คน มีนักเรียนจำนวน 13,537 คน โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น ได้แก่ ป.1-3, ป.4-6, ม.1-3 และ ม. 4-6 มีการจัดทำหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดภาษาไทยน้อยในทุกระดับชั้นปีโครงการนี้เป็นโครงการตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพลังความร่วมมือการฟื้นฟูภาษาอีสานระหว่างหน่วยงานของรัฐกับสถาบันศึกษาและเป็นภาพสะท้อนให้เห็นพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอีสานที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในมากขึ้น

การพัฒนาระบบการเขียนภาษาอีสาน

ระบบเสียงของภาษาอีสานมีความคล้ายคลึงกับระบบเสียงของภาษาไทยกลางกล่าวคือ พยัญชนะมีเสียงคล้ายกัน ยกเว้นบางตัวอักษร เช่น ร ออกเสียงเป็น ฮ, ตัว ช ออกเสียงเป็น ซ, ตัว ย นิยมออกเสียงนาสิกแต่ไม่ทุกคำการออกเสียงนาสิกมีผลต่อความหมาย เช่น อย่า ถ้าพูดไม่ออกเสียงนาสิกหมายถึง ห้ามทำ ถ้าออกเสียงนาสิกหมายถึงย่าที่เป็นภรรยาของปู่ (ประภาส สุระเสน, 2531)
ภาษาอีสานไม่นิยมออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ว เช่น ความ ออกเสียงว่า ควม, กราบ ออกเสียงว่า กาบ เป็นต้น ตลอดจนไม่มีเสียงควบกล้ำ ร ล ระบบการออกเสียงสระและตัวสะกดเหมือนกันกับภาษาไทยกลาง ส่วนวรรณยุกต์นั้นตำราเกี่ยวกับอักษรไทยน้อยนั้น
เขียนมีความแตกต่างกันบ้าง กล่าวคือ ตำราบางเล่มมีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ กำกับคำ ส่วนตำราบางเล่มก็ไม่มีการเขียนเครื่องหมายวรรณยุกต์

ปัจจุบันในสังคมไทยมีการสร้างคำใหม่และรับคำยืมมาจำนวนมากซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ใช้ภาษาที่สามารถเลือกคำศัพท์ในการสื่อสารได้หลากหลาย มีการพัฒนาระบบเสียงและระบบการเขียนของภาษา แต่ในทางกลับกันการมีคำศัพท์เพิ่มขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อภาษาเดิม ดังเช่นภาษาอีสานก็ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกทางภาษา (External Factors) เช่น ปัจจัยทางศาสนา ปัจจัยทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยรับคำในของภาษาต่างประเทศต่างๆ เข้ามาใช้ หรือปัจจัยทางการเมืองการปกครอง ที่มีนโยบายใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษามาตรฐาน ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาษาอีสานทั้งในแง่ของการพัฒนาและการเกิดปัญหาทางภาษา ซึ่งการพัฒนาและปัญหาจากปัจจัยดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้

ด้านวรรณยุกต์

เดิมอักษรไทยน้อยไม่มีเครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ทำให้เกิดปัญหาการเขียนคำศัพท์หลายคำ เช่น คำว่า ป่า กับคำว่า ปลา เมื่อเขียนจะเป็น xk เหมือนกัน จึงทำให้เกิดสับสนในด้านความหมาย นักวิชาการให้ความเห็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบการเขียนไว้สองแนวทาง ได้แก่ แนวทางแรก ให้คงลักษณะของอักษรไทยน้อยแต่เดิมไว้คือเขียนแบบไม่มีวรรณยุกต์ซึ่งสะดวกกับคนไทยอีสานเพราะมีหลายชนเผ่าและมีหลายสำเนียงในการพูด แนวทางที่สองให้เขียนสะกดรูปวรรณยุกต์เหมือนคำศัพท์ในภาษาไทยกลาง แต่ออกเสียงแบบภาษาอีสานทั้งนี้ยังหาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้ แต่ในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมอีสานประจำเทศบาลนครขอนแก่น มีทิศทางการแก้ไขโดยใช้แนวทางที่สอง ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการเดียวกันกับภาษาลาวที่มีการพัฒนาระบบการเขียนจนปรากฏการใช้วรรณยุกต์ในภาษาลาวปัจจุบัน

ด้านการสะกดคำภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร

เนื่องด้วยมีการรับคำภาษาบาลี สันสกฤต และเขมรมาใช้ในภาษาจากปัจจัยทางศาสนา ภาษาไทยน้อยไม่มีรูปตัวพยัญชนะที่ใช้ในการเขียนคำในภาษาดังกล่าวเหมือนอักษรธรรมที่มีตัว ธ ฑ ฎ ฏ ณ ฐ ศ ษ ดังนั้นจึงมีการเสนอแนวคิดให้เพิ่มอักษรธรรมเข้าไปในอักษรไทยน้อยซึ่งเคยมีการทำเช่นนั้นและสามารถทำได้ แต่เนื่องจาก วิธีการอ่านคำภาษาบาลี สันสกฤต หลายคำที่อ่านได้หลายวิธี เช่น วุฒิ อ่านเป็น วุด/วุด-ทิ การอ่านคำสมาสและสนธิที่เป็นลักษณะเฉพาะของคำภาษาบาลี สันสกฤต ซึ่งไม่มีในภาษาไทยน้อย รวมทั้งการเขียนพยัญชนะตัวเชิง ตัวห้อย และครึ่งตัวได้สร้างความสับสนยิ่งขึ้น
ส่วนแนวคิดที่เสนอว่าให้คงรูปเดิมเนื่องจากในภาษาไทยน้อยมีหน่วยเสียงที่เพียงพอต่อการเขียนคำบาลี สันสฤต และเขมร ยกเว้น ร/r/ และ ช/ch/ โดยการคงรูปเดิมให้เทียบเคียงกับภาษาไทยกลางก็ช่วยให้การเขียนสะดวกและรักษาอักขรวิธีเดิม
ของอักษรไทยน้อยไว้ได้ แต่การคงรูปแบบการเขียนเดิมก็จะมีปัญหาโดยเฉพาะในคำพ้องรูปและพ้องเสียง เช่น  (บาด บาท บาตร บาศก์)  (กรรณ, กัณฑ์, กัณฐ์)

ด้านการเขียนคำควบกล้ำ

อักษรไทยน้อยมีอักษรควบเพียง ว เท่านั้น แต่การใช้ควบกล้ำ ว ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงกันเพราะปัจจัยด้านความหมายและคำพ้องเสียง และบางท้องถิ่นออกเสียงควบกล้ำ ว และบางท้องถิ่นไม่ออกเสียง อย่างไรก็ตามสำหรับการเรียนการสอนการใช้ควบกล้ำ ว ในการเขียนจะทำให้เด็กสามารถเทียบเคียงคำศัพท์ในภาษาไทยกลางซึ่งมีอยู่มากในชีวิตประจำวันได้ง่ายยิ่งขึ้น

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าการพัฒนาระบบการเขียนของภาษาไทยน้อยยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง ซึ่งการแก้ไขปัญหาโดยมากใช้การเทียบเคียงกับการเขียนภาษาไทยกลาง ถึงแม้จะยังมีปัญหาอยู่บางประการแต่การพัฒนาโดยใช้การเทียบเคียงกับภาษาไทยกลางก็ถือว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมเพราะ ประการแรก อักษรไทยน้อยและอักษรภาษาไทยกลางมีรากฐานมาจากจุดเริ่มต้นเดียวกันคืออักษรลายสือไทยจึงถือว่ามีต้นทางที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติร่วมกัน การพัฒนาระบบการเขียนที่สัมพันธ์กันจะช่วยให้ง่ายในการเกิดการทำนุรักษา นำไปสู่การพัฒนาและความมั่นคงทางภาษาร่วมกัน ประการที่สอง การเทียบเคียงการเขียนกับภาษาไทยกลางแม้จะมีเหตุผลไม่รับกันและมีปัญหาเกิดขึ้นบ้าง แต่สามารถยอมรับได้เพราะภาษาไทยกลางก็เป็นภาษาที่มีข้อยกเว้นหลายประการแม้จะมีกฎระเบียบของภาษาอยู่แล้ว

วิธีการแก้ไขปัญหาแต่ละวิธีจะมีข้อจำกัดทั้งในระบบพูดและการเขียนภาษาอีสานแต่แนวทางในการกำหนดระบบการพูดและการเขียนที่ชัดเจนจะทำให้การเรียนการสอนภาษาอีสานสามารถพัฒนาได้ ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีมากกว่าที่จะรอให้มีการแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด เพราะแต่ละภาษาล้วนมีข้อยกเว้น และยังมีการเรียนการสอนที่พัฒนาต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน สิ่งสำคัญที่เราควรภาคภูมิใจคือเรามีภาษาของเป็นของตนเองที่มีทั้งเสียงพูดและตัวอักษรซึ่งปรากฏการณ์ทางภาษานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกภาษา จึงเป็นหน้าที่ของเราและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ต้องเรียนรู้และสืบทอดภาษาเพื่อใช้ภาษานั้นเป็นเครื่องมือในการสืบทอดวัฒนธรรม ความคิด และอัตลักษณ์ของตน

แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอีสาน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นสังคมแบบพหุภาษา (Multilingual society) มีความหลากหลายของชาติพันธุ์และภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ การจัดการภาษาที่หลากหลายเหล่านี้ภาครัฐยังไม่มีนโยบายหรือแนวทางที่ชัดเจนต่อภาษาถิ่นภาษากลุ่มชาติพันธุ์ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เริ่มให้โรงเรียนและสถาบันศึกษาจัดการเรียนการสอนที่มีสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นนโยบายแบบผิวเผินการตระหนักถึงความสำคัญในการแสดงออกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นรวมทั้งภาษาถิ่นของเด็กในปัจจุบันยังแพร่หลายและเด่นชัด
คำถามสำคัญประเด็นหนึ่ง คือ เหตุใดจึงต้องมีนโยบายและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาถิ่นเช่นภาษาอีสาน คำตอบก็คือ เพื่อให้สังคมระดับชาติเข้มแข็งและมั่นคงสังคมท้องถิ่นควรมีความเข้มแข็ง ความมั่นคงนี้เกิดขึ้นได้จากการความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมซึ่งรวมไปถึงภาษาถิ่น ดังที่ Kymlicka(1989:164-165) กล่าวว่าส่วนประกอบพื้นฐานของประเทศที่เป็นสังคมพหุภาษา
ให้สิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมแก่กลุ่มชนท้องถิ่น รัฐต้องพยายามปกป้องและสนับสนุนความเท่าเทียมนี้ผ่านภาษาเพราะพลังของแต่ละกลุ่มชนสามารถสร้างความเจริญให้แก่ประเทศได้ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมนโยบายภาษาจึงจำเป็นสำหรับสังคมพหุภาษาอย่างเช่นสังคมไทย
ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายในการจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาถิ่นขึ้นโดยบรรจุให้เป็นวิชาในหลักสูตร มีการร่วมมือระหว่างสถาบันทางวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยและโรงเรียนที่นำภาษาถิ่นเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียน ดังเช่น โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมอีสานประจำเทศบาลนครขอนแก่น แต่อย่างไรก็ตามจะพบว่าแหล่งทุนที่ใช้ในการสนับสนุนส่วนหนึ่งมาจากภายนอกจึงเกิดคำถามว่าหากไม่มีงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอีสานจะมีความยั่งยืนหรือไม่ ดังนั้นไม่เพียงหน่วยงานรัฐเท่านั้นที่จะต้องให้ความสนใจแต่ผู้ใช้ภาษาอีสานทุกคนก็ควรตระหนักถึงความสำคัญและมีแผนการจัดการภาษาถิ่นที่เป็นรูปธรรม เพราะการลงทุนทางวัฒนธรรมเป็นการลงทุนที่สัมพันธ์กับการศึกษานั้นนับเป็นการลงทุนเพื่อให้ประชากรของประเทศมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น วัฒนธรรม และสังคมท้องถิ่นของตนที่สามารถพัฒนาไปสู่การสร้างความมั่นคงของประเทศ
นอกจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนแล้วการให้สื่อสารมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์และปลูกฝังความรู้ภาษาอีสานก็เป็นอีกวิธีทางหนึ่งที่จะทำให้คนอีสานเห็นความสำคัญของภาษาอีสานได้ เช่น ป้ายข้อความต่างๆ ของเทศบาลที่เขียน
ตัวอักษรไทยน้อยร่วมด้วย หนังสือพิมพ์ที่ใช้ภาษาท้องถิ่น จะเสริมสร้างบทความภาษาอีสานการส่งเสริม เผยแพร่ การใช้ภาษาอีสานให้กว้างขวางขึ้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือการสร้างแรงกระตุ้นและสร้างบทบาทความสำคัญให้แก่ภาษาอีสาน เราคงต้องตอบคำถามต่างๆ อาทิ นอกจากเรียนเพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมแล้วเราสามารถนำภาษาอีสานไปต่อยอดได้อย่างไรบ้าง ดังนั้น การมีนโยบายที่ชัดเจนที่ว่า การสื่อสารภาษาอีสานสามารถในใช้ในบริบทใดได้บ้าง ความรู้จากการเรียนอีสานสามารถนำไปใช้ในการทำงานในลักษณะใดได้ หรือหากรัฐบาลมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำงานในชุมชนควรเรียนรู้ภาษาถิ่นของชุมชนนั้นด้วยก็จะสามารถเพิ่มบทบาทให้กับภาษาอีสาน และทำให้การเรียนการสอนภาษาอีสานมีความต่อเนื่องและพัฒนาต่อไป คำถามเหล่านี้เราคงต้องหาคำตอบร่วมกัน


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*