แมงตด

ชื่อพื้นบ้าน :  แมงตด   ( อีสาน )  แมงแต๊บ  ( เหนือ ) แมงขี้ตด ( ใต้ )
ชื่อสามัญ  Bombardier beetles
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pherosophus
Phylum: Arthropoda
Class: Insecta
Order: Coleoptera
Family: Carabidae

ข้อมูลทั่วไป 

กล่าวกันว่า แมงตด คือ เจ้าแห่งนักรบเคมีชีวะ  ด้วยความสามารถเฉพาะตัว  พ่นตดเป็น “ไฟเย็น”ได้
ส่วนมนุษย์ผู้ขี้คร้าน หรือ “ผู้นอนเว็น”  ก็ให้ระวัง ” ไฟเย็น”   สะเดิดโด่ง  เพราะเพื่อนๆ แกล้งเอา
โดยจำเพาะ ญาคูต้องแล่ง  ฉันเพลแล้ว เรียนคาถา ” กรนิน ” ( อ่านว่า กอละนิน กินแล้วนอน )
มักสิถืกจัวน้อย “วางไฟเย็น” เป็นประจำ  อันนี้กะหยอกกันเล่นดอกครับ   สุมื้อนี้ เพิ่นเป็นฮอด ผอ.แล้ว
ไผสิกล้า แม่นบ่ครับ ท่าน ผอ.พระยืน 4

ลักษณะทั่วไป

แมงตด  เป็นแมลงจำพวกเดียวกันกับ “ด้วงดิน ” เป็นแมลงปีกแข็ง มีลำตัวยาว 17-21 มม. กว้าง 6.5-8 มม
ในโลกนี้นี้ ว่ากันว่ามีกว่า 500 ชนิด แตกต่างกันไป แต่ชนิดที่พบในภาคอีสาน และในประเทศไทย  มีอยู่ 2 ชนิด คือ Pherosophus javanus และ Pherosophus occipitalis  แม้เป็นแมลงขนาดเล็ก  แต่ก็วิวัฒนาการ
ตัวเองให้มีพิษสง ไว้สำหรับป้องกันตัว โดยสร้างสารกรดพิษ ” ตดไฟเย็น” ที่มีส่วนประกอบของ
ไฮโดรควินโนน และ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เย็นแต่เผาไหม้ พุพอง ลวกมดแดง ตายเป็นทาง พะนะ
เวลามันปล่อยแก๊สพิษ จะมีเสียงดังคล้าย “ตด”  จึงได้ชื่อว่า แมงตด   ตัวผู้มีจะมีเกล็ดแข็งใต้ท้อง 8 ปล้อง
ส่วนตัวเมียมี 7 ปล้อง

แมงตด

แมงตด

ชีวิตความเป็นอยู่

แมลงตดอาศัยอยู่บนบกและบางครั้งพบตามริมแอ่งน้ำเล็ก ๆ อาศัยจับแมลงและสัตว์เล็ก ๆ อื่น
กินโดยไม่เลือก ภาษาอีสานว่า ” กินบ่ฮิ” ได้แก่ ไส้เดือน หนอนของแมลงต่าง ๆ รวมไปถึง เพลี้ย
ส่วน “ขี้เพี้ย” ให้ผู้บ่าวพวมแวง กิน พะนะ

ส่วนมากวางไข่เป็นกลุ่มอยู่ใน โพรงใต้ดิน กองหิน หรือใต้เปลือกไม้ หรือขอนที่ตายที่ล้ม
โดยทั่วไปจะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ไม่ถึง 10 ฟอง
ตัวหนอนมีลำตัวยาวค่อนไปทางแบนและแข็งตลอดหัว กรามโค้งยาว และปลายแหลมยื่น
ตัวหนอนค่อนข้างว่องไว
เมื่อตัวยังเล็กมักจะกินไข่ของแมลงต่าง ๆ ที่วางอยู่ใต้ดิน โตขึ้นกินอาหารแบบเดียวกับตัวเต็มวัย
เมื่อโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นดักแด้ในดิน แล้วลอกคราบออกมาเป็น แมงตด พวกนี้อยู่ตาม”เขิบไม้”
ปกติแล้ว ชอบอยู่ตามพื้นที่ชื้น  ศัตรูตามธรรมชาติของมัน คือ “ขี่โก๊ะ”  แมงเงา  ขี่เข็บ  และบึ้ง
นกกดแดง นกกะลาง  ไก่ป่า พร้อมกับ แมงเลี้ยงน้อง

ความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตชาวอีสาน

แมงตด มักแพร่กระจายพันธุ์ในช่วงฤดูฝน  มักจะเห็นมันไต่ เกะกะตามเดิ่นดอน เพราะมันเป็นสัตว์
ที่หากินอยู่กับพื้นดิน อยู่กับพื้นที่ชุมชื้น เวลาไปเลี้ยงวัวควาย มักจะเจอบ่อย คนอีสานโบราณนิยม
ปลูกเรือนให้สูง เพื่อให้หลีกเลี่ยงกับการทักทาย สัตว์มีพิษต่างๆ รวมทั้ง  แมงตดอันนี้ด้วย
เพราะหากลูกหลานไปพบเจอจับมันเล่น เพราะมีสีสันสวยงาม เมื่อโดนมันตดใส่ เกิดอาการแสบร้อน
ทำให้เด็กน้อยเกิดอาการ “ลัง”  ( งอแง )  แม้แต่ผู้ใหญ่หากถูกมันพ่นกรดใส่ อาจลุกลามเป็นแผลเป็นได้

ในสมัยปัจจุบัน การนิยมปลูกเรือนสูง ถูกปรับเปลี่ยนตามกาลสมัย  หันมานิยมปลูกเรือนทรงต่ำ
หรือที่ทางอีสานเรียกว่า ” เฮือนต่ำ ”  แป๋ ขี้ดิน  จึงควรระวังสัตว์มีพิษเหล่านี้เอาไว้บ้าง
หากถูกพิษของมันให้ หาสบู่ล้างน้ำออก พร้อมท่องคาถา ” โอม สะหัมติด ” รับรองหายเป็นปลิดทิ้ง
เอวังด้วยประการฉะนี้  สะหละหล่ะ

 


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*