แมงแคงจิก

ชื่อพื้นบ้าน      แมงแคงจิก
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pygoplatys auropunctatus และ Pygoplatys lunatus
class Insecta –
order Hemiptera
family Tesseratomidae

บางคนเข้าใจว่า แมงแคงจิก คือ แมงแคงค้อ ที่เคยเสนอไป
ความจริงแมลงชนิดนี้ เป็นคนละชนิดกัน แต่อยู่ในวงษ์เดียวกัน

ลักษณะทั่วไป

เป็นแมลงที่อยู่ในวงเดียวกัน กับ แมงแคงค้อ ( แมงแคงแดง) คือวงศ์ Tesseratomidae
แต่มีรูปร่างเล็กกว่า มีสีอมเขียวจนถึงน้ำตาลซีด ลำตัวกว้าง 1.5 ซม. ยาว 2 ซม
มีหนอกเล็ก ๆ ยื่นออกบนไหล่. ซึ่งต่างจากแมงแคงค้อ

พบในเขต อีสาน จนถึงประเทศลาว ( จากการบันทึกของฝรั่ง )
อาศัยตามป่าเบญจพรรณ ป่าแดง หรือป่าโคก ส่วนใหญ่อาศัยตามป่าโปร่ง
ไม่พบในป่าแบบป่าดงดิบ หรือป่าดิบชื้น
ตัวผู้มีลำตัวเรียวกว่าตัวเมีย ซึ่งตัวมีมีลักษณะแผ่แบน
ซึ่งที่ชาวอีสานเรียกรวมกันว่า “แมงแคงจิก”
ความจริงแล้ว เป็น แมลง 2 ชนิดรวมกันคือ
พันธุ์ที่มีสีแดง และพันธุ์ชนิดที่มีสีเขียว ได้แก่

แมงแคงจิกแดง   Pygoplatys lunatus

แมงแคงจิกเขียว  ชนิด Pygoplatys auropunctatus

การดำรงชีพ

ตอนยังเล็ก อาศัยดูดน้ำเลี้ยง น้ำหวานจากยอดไม้ใบไม้ผลิใหม่
ในห้วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ห้วง เม.ย.- พ.ค. อาศัยตามพุ่มไม้ ประเภท
พุ่มจิก พุ่มรัง พุ่มกุง (ตองตึง) ต้นค้อ และพืชในป่าโคก ชอบอยู่เป็นกลุ่ม
ไม่ชอบที่สูง ตอนกลางวันมักหลบแดดใต้ใบไม้ ชอบดูดกินน้ำเลี้ยง
ตอนเช้าๆ เมื่อสายจะหลบพักใต้ใบบัง

เมื่อเจริญเต็มวัย จะอาศัยอยู่บนที่สูง ตามใบไม้ต่างๆ คอยกินน้ำหวาน
จากดอกไม้ป่า หรือยอดไม้บนที่สูง เป็นเหตุผลให้เราไม่ค่อยเจอตัวมัน
ในช่วงเต็มวัย

แมงแคงจิก

แมงแคงจิก

วงจรชีวิต

ชอบวางไข่ตามใต้พุ่มไม้  กิ่งไม้ทีมีร่มเงา ไข่จะทนสภาพได้ถึง 3 เดือน
เมื่อวางไข่เสร็จมันจะตายลง  ไข่จะฟักตัวเมื่อเข้าสู่หน้าร้อน ปลายเดือน มี.ค.
จากนั้นจะอาศัยกินน้ำเลี้ยงตามยอดพืชของป่า จิกเต็งรัง และไม้พุ่มอื่นๆ
รวมกลุ่มกัน บางครั้งก็พบตาม ต้นเพ็ก ช่วงนี้ของชีวิตมีอายุ 15 วัน
จากนั้นใช้เวลา 7 – 9 วันก็จะงอกปีกโผบินได้ดังตัวเต็มวัย

แมงแคงจิก มีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis)
ซึ่งเป็นการเจริญเติบโต มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่าง และขนาด
ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ
1. ไข่ (egg),  3  ( 3 เดือน )
2.ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph) 28 -30 วัน
3. ตัวเต็มวัย (adult)  5 – 6 เดือน

ตัวอ่อน ระยะที่ 2 นี่หละ ที่ชาวอีสานนำมาเป็นอาหาร

ที่เรียกว่า “แมงแคงจิก” เพราะในช่วงวัยตัวอ่อน หรือ ตัวกลางวัย
(ช่วงยังไม่มีปีก) มันชอบดูดกินน้ำเลี้ยงของใบอ่อน ต้นจิกอีสาน
ต้นไม้ชนิดนี้เป็นอาหารและทางรอดของ แมลงสายพันธุ์นี้
มันจึงมีจำเพาะถิ่น ตามป่าโคก

อย่างไรก็ตาม การเผาป่าโคก เป็นการทำลายล้างไข่ของแมลงชนิดนี้
การเผา หรือถากถางป่าโคก เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ
คือการสูญพันธุ์ “แมงแคงจิก” ไปจากอีสาน
ปัจจุบันมันเป็น สัตว์เศรษฐกิจ ที่นำเข้ามาจาก สปป.ลาว
ประเทศที่ยังมีทรัพยากรสมบูรณ์

ความเกี่ยวพันวิถีชีวิตอีสาน

เมื่อฝนแรกตก หอมไอดินกลิ่นลำเนา ใบไม้ผลิใหม่
เมื่อเดือนเมษายน ตามพุ่มจิกพุ่มฮัง  ใบสีตองอ่อน
จะพบแมงแคงจิก รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่ม  เราก็เก็บเอามา
เพื่อคั่ว ตำทำน้ำพริก รสชาติอร่อย กินกันตอนเย็นๆ
กินแล้วนั่งฟังเสียง กะโหร่ง เขาะ ของวัวควายตามคอก
นั่งอยู่นอกชาน เพราะอากาศร้อน ฟังพ่อใหญ่เล่านิทาน
สูญเสีย แมงแคงจิก ไปเราจึงสูญเสีย “วิถี” ไปเฉกเช่นกัน
อะไรจะตามมานั้น…สุดจะคาดเดา…


มี 1 บทความลิงก์มาที่แมงแคงจิก

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*