ภาษาอีสานทั้งหมด 10253 - 10262 จาก 17431
-
แหบ
แปลว่า : กัด จิก เช่น ปลาจิกกินเหยื่อ เรียก ปลาแหบเหยื่อ. -
แหม
แปลว่า : เสียงแหลมสูง เสียงร้องแหลมสูง เช่น เสียงม้าร้อง เรียก ม้าแหม. -
แห้ม
แปลว่า : เกรียม เกือบไหม้ เช่น ปิ้งปลาเกือบไหม้ เรียก แห้ม อย่างว่า ปุนดั่งพิชโภชพร้อมเฮาปลูกในหิน ก็บ่มีบายมุกกิ่งใบเหลืองแห้ม ค้อมว่าอินทร์สอนแล้วจาโลมคำม่วน ให้มารคืนส่งให้นางแก้วแก่บา (สังข์) ขอจวบเจ้าเจ้าจวบจงฮัก เสนหาหาหอดกระหายหุยแห้ม นักนักกลั้นกลอยกลมกวนกอด แก้มก่ายแก้มโลมลิ้นแลกสลา (ฮุ่ง) อุณโหแห้มคือควันฮมลวก (ฮุ่ง). -
แหย่
แปลว่า : เอานิ้วมือหรือปลายไม้เป็นต้นจิ้มเข้าไป เรียก แหย่ เช่น แหย่รักแร้ แหย่หู เป็นต้น อย่างว่า เมื่อนั้นปืนผันเข้าฮูหูวัณนุราช มันก็ลุกตื่นแล้วซวงจิ้มแหย่หา (สังข์). -
แหย้
แปลว่า : บุก ดัน เช่น จับไม้ลำเดียวกันหันหน้าเข้าหากัน ต่างคนต่างดันเพื่อเอาชนะกัน เรียก แหย้ แหย้ส้าว ยู้ส้าว ก็ว่า. -
แหยง
แปลว่า : เบื่อหน่าย ระอา. -
แหย่ง
แปลว่า : สัปคับ สัปคับช้าง เรียก แหย่งช้าง แหย่งช้างทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมตั้งไว้บนหลังช้างเพื่อให้คนขี่นั่ง อย่างว่า คันเจ้าได้ขี่ช้างให้หาแหย่งฮองหลัง คันบ่ยองแหย่งลงชิบ่สมทรงช้าง มันชิเสียศรีเศร้าเสียทรงช้างใหญ่ มันบ่โก๋บ่โก้เขาชิต้านกล่าวขวัญ (ย่า). -
แหย่ง
แปลว่า : ผ้าขาวที่ทอห่างๆ เหมือนผ้าสำหรับทำมุ้ง ใช้ลากเอาปลาตามทุ่งนา เรียก ผ้าแหย่ง ผ้ากะแหย่ง ก็ว่า. -
แหย
แปลว่า : อาการรู้สึกหยาบกระด้าง เกิดจากการถูกต้องทางลิ้นในเวลาชิมรส เช่น ปลาแดกแหย เข้าแหย เป็นต้น แหยะ ก็ว่า. -
แหลก
แปลว่า : ละเอียด เป็นผง ป่นปี้ เช่น อาหารก่อนจะกลืนลงไปต้องเคี้ยวให้แหลกเสียก่อน อย่างว่า เคี้ยวให้แหลกเสียแล้วจิ่งกลืน (ภาษิต).