ภาษาอีสานทั้งหมด 10263 - 10272 จาก 17431

  • แหล้ง
    แปลว่า : กระบอกใส่ลูกศร เรียก แหล้ง อย่างว่า แล้วเลิกเมี้ยนปุนจีบประดับดี ภูมีประสงค์ใส่ในโกนแหล้ง พอคราวย้ายแยงคลองน้องนาถ ฮ้อยแผ่นล้านลงพื้นชั่วตา (สังข์).
  • แหล้ง
    แปลว่า : ลูกน้อง คนที่ติดสอยห้อยตามเรียก แหล้ง ลูกแหล้ง ก็ว่า อย่างว่า อยากทุกข์ให้เป็นนาย อยากสำบายให้เป็นแหล้ง (ภาษิต).
  • แหล่งหล้า
    แปลว่า : โลก แผ่นดิน อย่างว่า ขอให้เป็นยอดแก้วตนประเสริฐอุดมคุณ โพธิญาณยศยิ่งชายเซ็งกล้า เตโชแพ้ฝูงธรท้าวบาป ใต้แหล่งหล้าเป็นน้อยนอบบา แด่ถ้อน (สังข์).
  • แหลม
    แปลว่า : เสี้ยมปลายให้คม เรียก แหลม เช่น แหลมแทงกบ แหลมแทงเขียด แหลมยิงบ่าง คนมีปัญญาเฉลียวฉลาด เรียก คนหลักแหลม คนที่มองการณ์ไกล เรียก คนตาแหลม.
  • แหลมงา
    แปลว่า : เสี้ยมสอนให้ทำลายกัน เรียก แหลมงา อย่างว่า ดั่งนั้นยามยากฮ้อนแฮงฮูปหลบหนี มันจักแหลมงาพลายต่าวคืนแทงเจ้า คันเห็นเจ้ามีมาฉันกล่าว ให้ฮีบม้างเมื่อน้อยยายั้งย่ำเสีย แท้เนอ (สังข์).
  • แหล้ว
    แปลว่า : แหละ จริง ทีเดียว อย่างว่า ชาติที่ใจญิงนี้ตลบแปรปลิ้นง่าย จริงแล้ว ฮู้ว่ายักษ์บ่แพ้แหล้วเขาได้ค่องเคย แม้นว่าเดียรฉานเชื้อภาษาโฉมต่าง ก็ดี คันว่าได้เกลือกกลั้วมันนั้นหากหอม แม่แล้ว (สังข์).
  • แหลวคำ
    แปลว่า : เหยี่ยวแดง เหยี่ยวที่มีหงอนแดง เรียก แหลวคำ อย่างว่า แม้งหนึ่งสูรย์คลาดคล้อยใกล้ค่ำออระชอน คับคาเห็นแหลวคำดั่งบนบินเค้า อันนั้นรือบ่ภูธรไท้จอมหัวท้าวกว่า กูนี้ เดินดุ่งเต้าเอาน้องเพื่อนเพลา แลชาม (ฮุ่ง).
  • แหลวหลวง
    แปลว่า : เหยี่ยวใหญ่ เรียก แหลวหลวง อย่างว่า ครุฑใหญ่เปลื้องปีกแกว่งผาปิว แปนตูเห็นนาคเนืองในน้ำ แหลวหลวงเค้าหัวลายลุยผ่า นาคสว่านฟ้งฟางฮ้อนซ่าเสียง (สังข์).
  • แหว
    แปลว่า : แบะ แบน ปากแบะ เรียก ปากแหว ไม้ทำเป็นแผ่นกลมๆ เจาะรูตรงกลางเสียบไว้กับโคนของเหล็กไน เรียก หมากแหวไน.
  • แห้ว
    แปลว่า : ชื่อพืชจำพวกหนึ่ง หัวใช้กินได้ มีแห้วชนิดหัวเล็ก และแห้วชนิดหัวใหญ่.