ภาษาอีสานทั้งหมด 10273 - 10282 จาก 17431
-
แหวก
แปลว่า : แยกให้เป็นช่อง เปิดให้เป็นช่อง เช่น แหวกมุ้ง แหวกม่าน. -
แหว่ง
แปลว่า : วิ่นเข้าไป ไม่เต็มตามที่ควรมี ปากวิ่น เรียก ปากแหว่ง อย่างว่า หมาหางกิ้นหมั่นแกว่ง คนปากแหว่งหมั่นเว้า (ภาษิต) คนสบแหว่งสีนวดยามแลง สีบาดใดไหลลงสบแหว่ง (บ.). -
แหวดแหวด
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น คนพูดเสียงแข็งดังแหวดแหวด. -
แหวน
แปลว่า : เครื่องประดับสำหรับสวมนิ้วมือทำด้วยเงิน ทองแดง ทองเหลือง ทองคำ เรียก แหวน อย่างว่า แหวนดีย้อนหัว ผัวดีย้อนเมีย (ภาษิต) สิ่งที่เป็นเหมือนแหวน (วงกลม) ใช้ในกิจการต่างๆ เรียก แหวน. -
แหว้น
แปลว่า : มาตราเงินอย่างหนึ่งที่ใช้ในประเทศลาวสมัยโบราณ สิบแหว้นเท่ากับร้อยเบี้ย. -
แหว้น
แปลว่า : เฉือน ตัด เช่น มะม่วงสุกมีบางจุดเสียเพราะเน่ากินไม่ได้ จุดที่เสียต้องใช้มีดเฉือนออก ที่ที่เฉือนออก เรียก แหว้น. -
แห้วหมู
แปลว่า : ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง มีหัวเหมือนแห้ว แต่หัวเล็ก เกิดตามลานบ้านและที่ชุ่ม หมูชอบกิน เรียก หญ้าแห้วหมู. -
แหวะ
แปลว่า : ชำแหละ ชำแหละท้องปลา เรียก แหวะท้องปลา ผ่าท้องปลา เรียก แหวะท้องปลา. -
โห่
แปลว่า : เสียงที่เปล่งออกมาเช่นนั้น เช่น เสียงคนจำนวนมากเดินขบวนโห่ร้องไป อย่างว่า บางพ่องขับแข่งฟ้อนเยียวหยอกใสใย ทมทมเสียงโห่ปุนไปหน้า กับทังปุริโสเชื้อเสวยเชยชมม่วน ก็ไป เขาหากฮู้ชมเถ้าทั่วเมือง (สังข์). -
โห่
แปลว่า : ร้อง อีเก้งร้อง เรียก ฟานโห่.