ภาษาอีสานทั้งหมด 10471 - 10480 จาก 17431

  • ออกลูก
    แปลว่า : คลอดบุตร เรียก ออกลูก ลูกนั้นในทางพระศาสนาแยกออกเป็น ๓ จำพวกคือ อภิชาตบุตร ลูกที่ดีกว่าพ่อแม่ของตน อนุชาตบุตร ลูกที่เสมอพ่อแม่ของตน อวชาตบุตร ลูกที่เลวกว่าพ่อแม่ของตน .
  • ออกใหม่
    แปลว่า : ในเดือนหนึ่งๆ มี ๓๐ วันเป็นส่วนมาก สิบห้าวันแรกเป็นข้างขึ้น สิบห้าวันหลังเป็นข้างแรม ข้างขึ้นโบราณเรียก วันออกใหม่ คือวันที่พระจันทร์เริ่มสว่าง พอถึงออกใหม่สิบห้าค่ำพระจันทร์ก็สว่างเต็มดวง เรียก วันเพ็ง วันเพ็ญ ก็ว่า ส่วนวันข้างแรมเรียก วันดับ พระจันทร์อับแสงเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำไปพอถึงแรมสิบห้าค่ำก็ดับสนิท เรียกว่า เดือนดับ วันดับ ก็ว่า.
  • ออกเฮือน
    แปลว่า : ธรรมเนียมของชาวอีสานเมื่อลูกมีอายุพอจะแต่งงานได้ ก็จัดการแต่งงานให้ตามประเพณีนิยม ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วต้องอยู่เลี้ยงดูพ่อแม่ ส่วนผู้ชายเมื่อแต่งงานไปอยู่ที่บ้านผู้หญิงเรียกว่า ไปเลี้ยงพ่อเถ้าแม่เถ้า อย่างว่า เอาลูกเขยมาอยู่เฮือนพ่อเถ้า ปานได้เข้าเต็มเล้าเต็มเยีย (ภาษิต) เพราะลูกเขยนั้นจะช่วยแบ่งเบาภาระธุระพ่อตาแม่ยาย ถ้ามีความจำเป็นจะต้องออกไปสร้างบ้านแปลงเฮือน ซึ่งโบราณเรียกว่า ออกเฮือน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ของหญิงเสียก่อน.
  • ออน
    แปลว่า : พัด ลมพัด เรียก ลมออน อย่างว่า คบหนึ่งเดือนสามเสี้ยงลมออนไม้อ่อนมาแล้ว (สังข์) พ่างพ่างเหลื้อมดาวอว่ายลับภู ดีแก่ลมออนพัดเพิกตาวตีนถ้ำ ชะบูเนื้อนวลปรางไสยาสน์ เจ้ายี่ค้ำฮมเฮ้าฮอดเฮียม (ฮุ่ง).
  • ออน
    แปลว่า : หนี ไป หนีหรือไปเรียก ออน อย่างว่า ขวัญอย่าออนฮอดเฮือนเฮียงห้อง (ฮุ่ง).
  • ออมอด
    แปลว่า : ประหยัด การใช้จ่ายโดยประหยัด ไม่จำเป็นก็ไม่ใช้จ่าย เรียก ออมอด.
  • อ่อมอ่อม
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงพูดกันของคนสองคน คนอื่นฟังไม่ได้ยินเสียงเรียก เว้าอ่อมอ่อม.
  • อ่อมอ่อย
    แปลว่า : ลายเป็นจุดเล็กๆ เรียก ลายอ่อมอ่อย เช่น ลายของนกกะทา.
  • อ่อมอ้อย
    แปลว่า : อาการเดินไปของเด็กเล็ก เรียก ย่างอ่อมอ้อยอ่อมอ้อย.
  • อ้อมแอ้ม
    แปลว่า : ใกล้ ชิด ของที่อยู่ใกล้ชิดเรียก อยู่อ้อมแอ้ม.