ภาษาอีสานทั้งหมด 10461 - 10470 จาก 17431

  • ก้มซ่วมง่วม
    แปลว่า : ก้มจนตัวงองุ้ม
  • อสุภกรรมฐาน
    แปลว่า : กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งาม ความไม่เที่ยงแท้ของสังขารเป็นอารมณ์ (ป.).
  • อโหสิกรรม
    แปลว่า : กรรมที่เลิกให้ผล การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน เรียกเพียงคำว่า อโหสิ ก็มี (ป.).
  • ออ
    แปลว่า : รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ปลาออกันที่หน้าไซหรือหน้าต้อน เรียก ปลาออ ปลาทอ ก็ว่า อย่างว่า เห็นว่าปลาทอต้อนหมายชิตำปลาแดก บาดห่าต้อนเจ้าหลูคูเจ้าฮ้งชิพายข้องปึ่งดัง (กลอน).
  • อ้อ
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ลำต้นแข็งเป็นปล้อง ข้างในกลวง มักขึ้นในที่ชื้นแฉะ เรียก ต้นอ้อ.
  • ออก
    แปลว่า : เรียกพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดว่า พ่อออก แม่ออก เป็นคำที่พระภิกษุสามเณรเรียกพ่อแม่ของตน ส่วนผู้อุปถัมภ์บำรุงด้วยภัตตาหารเช้าเพลว่า พ่อออกค้ำ แม่ออกค้ำ เรียกผู้ชายที่เป็นน้องของพ่อแม่ว่า อาวออก เรียกผู้หญิงที่เป็นน้องสาวของพ่อแม่ว่า อาออก อย่างว่า อาวออกเจ้ายังฮ้ายฮู้ว่าดี นั่นเด (สังข์) บัดนี้มาฮอดเจ้าอาออกองค์กษัตริย์ หลานจักพาอาเขียวพรากวังวันนี้ อาข่งปุนปองเมี้ยนประดับไวแวนเถี่ยว จริงเถิ้น ยาอยู่ช้าเยียวย้านห่างทาง (สังข์).
  • ออก
    แปลว่า : ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวขนาดนกยางชอบกินปลา เรียก นกออก นกกะออก ก็ว่า อย่างว่า มีทังนกกกแลนกแกง ชุมแชงแลคอก่าน ห่านฟ้าแลอินทรี เอี้ยงคลีแลนกพีด นกปีดแลนกเขา กาเวาและกะออก จอกฟ้าแลสาลิกา (เวส).
  • ออกกรรม (ญ)
    แปลว่า : การที่หญิงอยู่ไฟครบกำหนดแล้วออก เรียก ออกกรรม หญิงสาวอีสานที่มีลูกครบกำหนด เมื่อออกลูกแล้วต้องอยู่ไฟ สำหรับท้องสาวอยู่ไฟครบสิบห้าวัน ท้องคนต่อไปอยู่สิบวันหรือเจ็ดวันก็ได้ เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทำพิธีออกจากไฟ เรียก ออกกรรม.
  • ซ้วนตาง
    แปลว่า : ช่วยเหลือค้ำจุน อุดหนุน ทำแทน
  • ออกกรรม
    แปลว่า : การที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.