ภาษาอีสานทั้งหมด 10441 - 10450 จาก 17431

  • อรอิ่นอ้อย
    แปลว่า : อ้อยอิ่ง ไพเราะ อย่างว่า อรอิ่นอ้อยระบำกล่อมเสียงเพลง ภูมีถอยสว่ายมือเช็ดหน้า พอประมาณเมี้ยนเมือเทิงลดม่าน ง้อมม่วนเข้าหาท้าวฮ่วมเฮียง (ฮุ่ง).
  • อรเอื้อ
    แปลว่า : เปล่งปลั่ง นุ่มนวล อย่างว่า เล็งฮูปเจ้ายัวรขาตรอินทศักดิ์ ผิวขาวเขียวออกปรางอรเอื้อ วรขักรคิ้วกวมตาปะแจะเจต งามซิ่นเด้ออรเอื้อแปกพรหม (ฮุ่ง).
  • อรแอ่
    แปลว่า : อ่อนช้อย อ้อนแอ้น อย่างว่า ประสงค์แนบซ้อนสุดสวาทอรองค์ องค์อรแอช่างชมถนอมซ้อน ชอนถนอมฮู้มโนใจจงแม่น คึดแม่นช้องทวงท้าวเฮ่งกระสัน (ฮุ่ง).
  • อรฮัง
    แปลว่า : สวย งาม อย่างว่า ผ่อเห็นพร่างพร่างม้าแส้ก่อนนันครวญ พุ้นเยอ เล็งเห็นอรฮังงามเฮื่อทองแกมเสี้ยว ทุกไทเที้ยนทวนเขาข้ามที่ ทางท่องเลี้ยวเถิงฮ้านฮ่มลวง (ฮุ่ง).
  • อรัญญา
    แปลว่า : ป่า อย่างว่า แซวแซวหลิ้นอรัญญาในป่า (กา) ดีแก่ทวนไกลด้าวอรัญญายาวโยชน์ (ผาแดง).
  • อรุณ
    แปลว่า : เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้นมี ๒ ระยะคือ มีแสงขาวเรื่อๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อๆ (แสงทอง) เวลาย่ำรุ่ง เวลามีแสงเงินแสงทองขึ้นบนท้องฟ้า เรียก เวลารุ่งอรุณ (ป. ส.) อย่างว่า ชื่อว่าอรุณล้ำสุรภาเพ็งทวีป ก็ดี ยังไป่เฮืองฮุ่งเท้าทวงข้อยข่าวเถิง สวรรค์โลกพุ้นพันแง่แสงใสก็ดี เคยคอยผายผ่อพระทัยทวงฮ้อน เฮฮุนฮ้ายพระองค์เอาอุ้มส่ง เลิงแล้ว บัดนี้ญาณยอดแก้วดาเว้นหว่างใด นี้เด (สังข์).
  • อเร็งญา
    แปลว่า : ป่า โบราณเรียก อเร็งญา อย่างว่า คุ้มก่ำพร้าสองหน่อชมเสนห์ ยูท่างเทียมสายสมรมิ่งเมืองชมชู้ในไพรพร้อม อเร็งญายังป่ามากิน คุ้มซู่ด้านยาให้หอดแฮง (ฮุ่ง) สูรย์สว่างฟ้าปลงเที่ยงโลกาโฉมงามคึดฮุ่งนางในห้อง เจียมแต่ทวนไกลด้าวอเร็งญายาวโยชน์ เมิลมุ่งไม้ใบซ้องกิ่งเกียง (ฮุ่ง).
  • อลหล
    แปลว่า : วุ่นวาย สับสน เกิดวุ่นวายเกือบจะชกต่อยตบตีกัน เรียก อลหล อย่างว่า ยูสนุกเว้นอลหลหายโศก ท่อว่าภูวนาถไฮ้แนวน้องบ่หลาย (สังข์).
  • อลัชชี
    แปลว่า : ไม่อาย นอกรีต เช่น นักบวชที่ละเมิดพุทธบัญญัติ เรียก อลัชชี คนไม่มียางอายก็ว่า อย่างว่า ยังเล่าประกอบด้วยไคลเหื่อหิวหาย ท่อว่ากินดายดิบบ่เจียวจีนต้ม อักโขล้นอลัชชีชาติต่าง โดยดั่งเรื่องลือไว้มากมูล แท้แล้ว (สังข์).
  • อวด
    แปลว่า : แสดงให้รู้เห็นว่าเป็นคนเก่งกล้าสามารถ เช่น อวดฤทธิ์ อวดเดช อวดอำนาจ อวดวาสนา อวดบารมี อวดความดีความงาม อย่างว่า เมื่อนั้นธรยานแม้งมีฟังกลอนกล่าว รือว่าเด็กส่ำโม้มาต้านอวดสะหาว ดั่งนี้ (สังข์).