ภาษาอีสานทั้งหมด 10551 - 10560 จาก 17431

  • อาดูร
    แปลว่า : เดือดร้อน ทนทุกข์เวทนาทั้งกายและใจ เรียก อาดูร ดุร ตูล ก็มี (ป. ส. อาตุร) อย่างว่า ปุนหอกง้าวเขาทั่งแทงเอิ็ก อาดูรแดเดือดดาลดอมน้อง พระก็ทรงชลช้ำไหลลงลืมเพศ สนมหนุ่มกลั้วกองไห้มี่นัน (สังข์) น้ำลวาดนิ้วเนานั่งเต็งตัก รือจักหายบรรเทาสว่างกระสันเสียฮ้อน ได้ซามยินฮักโอ้อาดูรโดยอ่อน ใจขาดข้อนยังท้องทั่วทน (ฮุ่ง).
  • อาตมา
    แปลว่า : ตัวเอง (ส.).
  • อาทร
    แปลว่า : ความเอื้อเฟื้อ ความเอาใจใส่ ความพะวง (ป. ส.) อย่างว่า แต่นั้นความตื่นท้วงเท้าทั่วนครหลวง เอากันพรมพ่นธราลงต้อง ลางเล่ายังหิวไห้อาทรทังฟั่ง น้ำแผ่ต้องตนเจ้าจิ่งคืน (สังข์).
  • อาทิ
    แปลว่า : ต้น เบื้องต้น ทีแรก ข้อต้น เช่นคำว่า เป็นอาทิ คือ เป็นต้น (ป. ส.).
  • อาน
    แปลว่า : เครื่องรองนั่งบนหลังสัตว์พาหนะหรือยานพาหนะบางชนิด เช่น อานม้า อานรถ อย่างว่า อาชาไนยม้าอานคำคาดหิ่ง (กา).
  • อาน
    แปลว่า : ขัด สี ลูบ อย่างว่า อาบน้ำแต่พอการ ก่อนเถิ้น พอขัดอานลูบล้าง อยู่นานเยียวหนาวหน่วง เยียวกระด้างเมื่อยพลอยถือ ฮู้เด (ฮุ่ง).
  • อาบน้ำเกี้ยง
    แปลว่า : น้ำรักเรียก น้ำเกี้ยง การทาโตกทาแอบ ต้องทาน้ำเกี้ยงเป็นสีรองพื้นก่อน แล้วทาสีชาดหรือน้ำหางทำเป็นลวดลายต่างๆ.
  • อาบน้ำฮ้อนมาก่อน
    แปลว่า : เกิดก่อนย่อมรู้เห็นสิ่งต่างๆ มามาก ดีกว่าคนเกิดทีหลัง.
  • อาบเหงื่อต่างน้ำ
    แปลว่า : ตรากตรำทำงานไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เรียก อาบเหงื่อต่างน้ำ อาบเหื่อกินต่างน้ำ ก็ว่า.
  • อาบัน
    แปลว่า : ต้อง ถึง ถึงความลำบากกรากกรำ เรียก อาบัน อย่างว่า ซู่แห่งห้องหอราชเฮียงแค เมื่อนั้นนางเม็งผายบันเทาทุ่มทวงบาท้าว ฮู้ว่าอาบันฮ้อนฮมแดดานโศก จริงแล้ว เจ้าจักไปผาบด้าวแดนแย้โยชน์ผอม (ฮุ่ง).