ภาษาอีสานทั้งหมด 2361 - 2370 จาก 17431

  • ขบ
    แปลว่า : กัด กัดเรียก ขบ เช่น หมาขบ งูขบ ยุงขบ อย่างว่า หมาโตขบบ่เห่า หมาโตเห่าบ่ขบ (ภาษิต) หมาขบหนังมันยังคนเทื่อเบื่อพี่น้องยอย้องเพิ่นดี (ภาษิต).
  • ขบถ
    แปลว่า : การประทุษร้ายต่ออาณาจักร, ความทรยศ เรียก ขบถ กบฎ ก็ว่า.
  • ขม
    แปลว่า : ชื่อบวบชนิดหนึ่ง มีรสขม เรียก บวบขม เถาอีกชนิดหนึ่งมีรสขมเรียก เครือเขาฮอ บอระเพ็ด ก็ว่า อย่างว่า คันอยากอายุยิ้งยืนยิ่งหลายปี ให้เจ้ากินเขาฮอก่อนงายยามเช้า หรือชิกินยามเข้าเนานอนค้ายค่ำ กินซู่มื้อมีเว้นแฮ่งดี (ย่า).
  • ขม
    แปลว่า : ขึ้งเคียด, ไม่ชอบใจ อย่างว่า เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มฟุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีเผด มึงหากกดวาดเว้ามีได้เวทนาท่านเอย (สังข์).
  • ข่ม
    แปลว่า : ข่มเหง, บังคับ อย่างว่า เอาท่อคุณผัวอ้างองค์มารมาข่ม กูรือ แม้นจักจัดฝ่ายฟ้ามากั้งบ่กลัว แท้แล้ว กูก็ลือหาญข้ามชมพูเผลียงโลก มาแล้วอาจักขัดอยู่ได้เฮวต้านตอบความเที่ยวเถิ้น (สังข์).
  • ขมวน
    แปลว่า : ชื่อหนอนชนิดหนึ่ง เกิดในปลาแห้ง กินปลาแห้งเป็นอาหาร เรียก แมงขมวน.
  • ขมวน
    แปลว่า : ยุ่ย, ผุปลาที่ถูกแมงขมวนกินเรียก ปลาเป็นขมวน.
  • หมอขวัญ
    แปลว่า : เป็นผู้มีความรู้และความสามารถในการขับกล่อมขวัญ สู่ขวัญ หรือเรียกขวัญ ชาวบ้านเชื่อกันว่าขวัญเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่อยู่ภายในร่างกายของคนยามปกติ เป็นสิ่งทำให้ร่างกายคนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อคนเจ็บป่วยหรือตกใจ ขวัญจะออกจากร่างกาย ชาวบ้านจึงต้องทำพิธีเรียกขวัญ หรือสู่ขวัญ เพื่อให้ขวัญนั้นกลับมาอยู่ในร่างกายตามเดิม และผูกมัดขวัญให้อยู่กับเนื้อกับตัวด้วยสายสิญจน์ บางครั้งก็ทำพิธีสู่ขวัญให้แขกผู้มาเยือน หรือผู้ที่จะออกนอกหมู่บ้าน เดินทางไกลเป็นเวลานานๆ หรือสู่ขวัญให้สัตว์ สิ่งของด้วย เช่น สู่ขวัญวัว ควาย สู่ขวัญข้าว เป็นต้น
  • ขมวย
    แปลว่า : ขุยดิน ดินที่ใส้เดือนกินกองขึ้นเป็นกองๆ เรียก ขมวยดิน ขวยดิน ก็ว่า อย่างว่า หนูกินกล้วยป๋าขวยให้ตุ่น มักเพิ่นพุ้นมาเฮื้องใส่เฮียม (ผญา).
  • ข่มหลบ
    แปลว่า : ไม้สองงตัวสำหรับทับหญ้ามุงหลังคา เรียก ไม้ข่มหลบ.