ภาษาอีสานทั้งหมด 3337 - 3346 จาก 17431

  • เคี่ยน
    แปลว่า : เคลื่อน ย้าย การเคลื่อนย้ายไปจากที่เดิม เรียก เคี่ยน คะเคี่ยน เคลื่อน ก็ว่า อย่างว่า คะเคี่ยนย้ายลงจากปรางค์ปรา ราชาพระดุ่งเดินเดียวดั้น วันเวียนค้อยลมหนาหนาวหน่วง ไปพักยั้งไฮไม้ฮ่มหนา (กา).
  • เคี่ยน
    แปลว่า : เคลื่อน ย้าย เปลี่ยน เอาวัวไปผูกหลักใหม่ เรียก เคี่ยนงัว เอาควายไปผุกหลักใหม่เรียก เคี่ยนควาย อย่างว่า เฮามาเอาองค์อาเคี่ยนคราวไปหน้า (สังข์).
  • เคียม
    แปลว่า : ใกล้ อยู่ใกล้เรียก เคียม แคม ก็ว่า อย่างว่า เหมือนดั่งนิโครธค้อมแคมท่าชลาไหล คองว่าวายวันคืนบ่เป็นไปได้ (สังข์).
  • เคี่ยม
    แปลว่า : สงบเสงี่ยม เจียมตัว เรียบร้อย คนที่มีความประพฤติเรียบร้อนเรียก เคี่ยม อย่างว่า นับแต่ภูชัยท้าวทรงผนวชเจ็ดเดือน ประสงค์คลองวัตรเคี่ยมคมเฮืองฮู้ ปรากฏไท้มหาเถรกุศราช ทุกที่เที้ยนยอย้องยอดธรรม แท้แล้ว (สังข์).
  • เคียว (คะนอง)
    แปลว่า : คะนอง,บ้าบิ่น
  • เคี้ยว
    แปลว่า : บดให้แหลกด้วยฟัน เรียก เคี้ยว เช่น เคี้ยวเข้า เคี้ยวหมาก.
  • เคี้ยว
    แปลว่า : คด งอ คนที่มีนิสัยคดในข้องอในกระดุกเรียก เคี้ยว คดเคี้ยว ก็ว่า อย่างว่า ไม้ค้อมเคี้ยวกกก่องใบบาง (ฮุ่ง).
  • เคื้อ
    แปลว่า : อะเคื้อ คนสวยงามเรียก เคื้อ อะเคื้อ เอื้อเคื้อ ก็ว่า อย่างว่า เมื่อนางไกวแขนไปเอื้อเคื้อ หน้าหนุ่มเนื้อใสงาม (เวส).
  • เคือง
    แปลว่า : ขุ่นข้อง หมองใจ แสดงอาการขุ่นข้องหมองใจ เรียก เคือง อย่างว่า อย่าได้เคืองพระทัยจิตนาถแพงฮมฮ้อน (สังข์).
  • เคือด
    แปลว่า : ความเดือดดาล อย่างว่า เมื่อนั้นปิตุเรศไท้คลายเคือดมโนใส (สังข์).