ภาษาอีสานทั้งหมด 3377 - 3386 จาก 17431

  • แคลน
    แปลว่า : ขัดสน ยาก ไร้ คนที่ขัดสน เรียก แคลน อย่างว่า มีข้อยคอกเงินแสนหาคำแคลนบ่ได้ (เวส).
  • แคลน
    แปลว่า : เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า อย่างว่า บัดนี้สัพพะกอดเกี้ยวกลอนเก่ามาแถลง ชื่อว่าเทพาพระวาดพระนอมไพรกว้าง บุญยวงยั้งเซาแคลนคราวหนึ่ง ดีแต่สังข์ล่วงผ้ายผันย้ายก่อนบา (สังข์).
  • แคลน
    แปลว่า : ดูหมิ่น การดูหมิ่นว่าเป็นคนทุกข์จนค่นแค้น เรียก ดูแคลน ดูหมิ่น ก็ว่า.
  • แคล้ว
    แปลว่า : พลาด ผิด พลั้ง อย่างว่า มีคลาดแคล้วโดยดั่งพระองค์ฝัน เมื่อนั้นภูมีชมชื่นใจจาต้าน (สังข์)
  • แคว้ง
    แปลว่า : มะเขือพวงที่เป็นเถา เรียก หมากแคว้งเครือ.
  • แคว้ง
    แปลว่า : ช้อนปลาหรือกุ้ง การเอาสวิงหรือตะแกรงช้อนปลาหรือกุ้ง เรียก แคว้ง แค้ง ก็ว่า.
  • แควน
    แปลว่า : ลำบาก ตรากตรำ อย่างว่า แม้นว่าแสนฮ้องไห้ก็หากแควนดาย (เวส).
  • แค้วแน้ว
    แปลว่า : สิ่งที่เล้ก ยาวและเหยียดไปเรียก เหยีนดแค้วแน้ว เช่น ตายอย่างเขียดเหยียดแค้วแน้ว.
  • แคะ
    แปลว่า : ไม่เชื่อง วัวที่ฝึกแล้วไม่เชื่อง เวลาจับเข้าเทียมเกวียน มันจะสลัดแอก หรือควายที่ฝึกแล้วเวลาเข้าเทียมไถมันจะสลัดแอก เรียก งัวควายแคะ.
  • แคะ
    แปลว่า : แทะ แกะ เอาไม้แทะขี้หูเรียก แคะขี้หู แกะบาดแผลเรียก แคะขี้บาด.