ภาษาอีสานทั้งหมด 3387 - 3396 จาก 17431
-
แคะแยะ
แปลว่า : อาการที่กบหรือเขียดตัวเล้กๆ เต้นไป เรียก เต้นแคะแยะ เคาะเยาะแคะแยะ ก็ว่า ถ้าตัวใหญ่เรียก เต้นโคะโยะ โคะโยะเคะเยะ ก็ว่า. -
โค
แปลว่า : วัว ชื่อสัตว์เลี้ยงจำพวกหนึ่ง ใช้สำหรับลากเกวียน เรียก โค งัว ก็ว่า อย่างว่า ค่อยอยู่ดีเยอ ฮูปเครื่องปั้นทุกสิ่งแสนสัตว์ สักกุณานกไก่กาแกมฮุ้ง โคคณาพร้อมมหิงสาเมยมั่ง คับคั่งถ้วนอินทร์ฟ้าหล่อแปลง (เวส-กลอน). -
โค
แปลว่า : เครือ ชายหรือหญิงที่กำลังแตกเนื้อหนุ่มสาว เสียงจะแตกเป็นเสียงเป็ด เสียงที่แตกเรียก เสียงเครือ เสียงโค ก็ว่า แคนที่เสียงแตกเป่าแล้วฟังไม่ไพเราะเรียก แคนโค. -
โคก
แปลว่า : ที่เนิน ที่สูง ที่เนินที่สูงเรียก โคก โคกที่เต็มไปด้วยหินแร่ เรียก โคกหีนแฮ่ โคกที่เต็มไปด้วยต้นจิกต้นฮัง เรียก ป่าจิกป่าฮัง อย่างว่า โคกป่าจิกมาบังหลังโคกป่าฮังมาบังหน้า พราหมณาน้ำตาหลั่ง คึดห่วงหลังห่วงหน้าน้ำตาย้อยย่าวลง (เวส-กลอน). -
โคจร
แปลว่า : การเดินแบบโค คือเดินไปไม่มีจุดหมายปลายทาง เรียก โคจร อย่างว่า เฮาจักโคจรดั้นเดินนำน้องนาถ ดั้นฮอบบ้านหลายชั้นสืบดู (สังข์). -
โคด
แปลว่า : ข้าวโพด ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มีฝัก ใช้กินแทนข้าวได้ จะเป็นเพราะมันเกิดก่อน และใช้กินแทนข้าวได้นี้กระมัง คนโบราณจึงเรียก เข้าโคด หรือ โคตรเข้า. -
โคด
แปลว่า : คับใจ ขัดใจ อย่างว่า มโนโคดแค้นทวงท้นเปลี่ยวใน (ผาแดง). -
โคด
แปลว่า : แตก กระจัดกระจาย อาการที่ภูเขาแตกกระจัดกระจายเรียก โคด อย่างว่า ฝังยินผาโคดค้านแผ้วเผี้ยนเกลื่อนกอง (สังข์). -
โคด
แปลว่า : ตี ตีฆ้องเรียก โคดฆ้อง อย่างว่า ค้อนโคดไค้กลองฆ้องโฮ่หัว (ฮุ่ง). -
โคดโลด
แปลว่า : สิ่งของที่กลมใหญ่และยาวเรียก ยาวโคดโลด ถ้าเล็กและยาวเรียก ยาวคอดลอด.