ภาษาอีสานทั้งหมด 4631 - 4640 จาก 17431
-
ญี่บา
แปลว่า : กระปรอก ชื่อพรรณกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ญี่บา. -
เญยยธรรม
แปลว่า : ธรรมที่ควรรู้. -
ฐิตะ
แปลว่า : ยืนอยู่ ตั้งอยู่แล้ว (ป.). -
เฒ่า
แปลว่า : แก่ มีอายุมาก คนมีอายุมากเรียก เฒ่า ภาษาอีสานเขียนเป็นเถ้า เพราะเขียนแบบตัวไทยน้อย ตัวไทยน้อยไม่มีตัว ฒ. จึงเขียนตัว ถ. แทน. -
เณร
แปลว่า : สามเณร ชายผู้บวชอายุยังไม่ครบยี่สิบปี เรียก สามเณร เณร ก็ว่า ตัวไทยน้อยไม่มีตัว ณ. จึงเขียน น. แทน. -
ดก
แปลว่า : มาก หลาย ผมมากเรียก ผมดก อย่างว่า เชื้อหมากต้องบ่ห่อนหล่นไกลกก แนวผมดกบ่ห่อนเป็นหัวล้าน (กลอน) ดอกไม้มากเรียก ดอกไม้ดก ผลไม้มีผลมากเรียก มีลูกดก. -
ดก
แปลว่า : เกลี้ยง เตียน คนไม่มีผม เรียก เถ้าดก ผัวเมียไม่มีลูกเรียก พ่อดกแม่ดก หยิงไม่มีหมอยเรียก สาวดก อย่างว่า หมอยบ่มีจักเส้นสังมาเย็นใจอยู่ สังบ่ไปเที่ยวบ้านหาซื้อหนวดแมว (บ.). -
ดง
แปลว่า : ป่า ป่าใหญ่ ป่าทึบ ป่าที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นเรียก ดง -
ดง (ตั้งไฟอ่อนๆ)
แปลว่า : เอาหม้อข้าวที่รินน้ำขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ เพื่อให้ข้าวสุกเต็มที่ หรือทำให้ข้าวหม เรียก ดงเข้า -
ด่ง
แปลว่า : สูง กระโดดศุงเรียก เต้นด่ง เช่น วัวควายเต้นด่งด่ง.