ภาษาอีสานทั้งหมด 5021 - 5030 จาก 17431
-
ตะวันตก
แปลว่า : ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า. -
ตะหลุง
แปลว่า : ค่าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในจำพวกลิง เรียก ตะหลุง อย่างว่า อย่าได้เห็นต่อนฮ้ายก้ำฝ่ายทางตะหลุง พุงของลิงกะเขียวดั่งเดียวกันนั้น (ผญา). -
ตะหลุ่ย
แปลว่า : ขี้เปียก เรียก ขี้ตะหลุ่ย ขี้กะหลุ่ย ก็ว่า อย่างว่า แก้มปุยลุ่ยแก้มเจ้าปุยลุ่ย ขี้กะหลุ่ยแต่น้อยบ่เป็นตาอยากชม บาดว่าใหญ่ขึ้นมาเหลียวเบิ่งขากลมๆ เหลียวเบิ่งนมขาวๆ ฮาวท้องสีพันพันอยากลั่นโส้งลงใส่อยู่จ่าวจ้าว (กลอน). -
ตัก
แปลว่า : หน้าขา ตั้งแต่เข่าถึงโคนขาในเวลานั่ง เรียก ตัก. -
ตัก
แปลว่า : เอาภาชนะช้อนสิ่งของขึ้นจากที่เดิม เรียก ตัก เช่น ตักน้ำ ตักดิน ตักแกง อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ่าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (ย่า). -
ตั๊กตั๊ก
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงรองเท้ากระทบพื้นเวลาเดิน ดังตั๊กตั๊ก. -
ตักติต่ง
แปลว่า : ชื่อแมลงจำพวกหนึ่งในจำพวกตักแตน มีปีกบินได้ แต่ขายาวกว่าตักแตน เรียก แมงตักติต่ง. -
ตักติ่น
แปลว่า : เล็บอ่อนของวัวหรือควายเวลาแรกเกิด เรียก ตักติ่น. -
ตักแตน
แปลว่า : ชื่อแมลงจำพวกหนึ่ง ขายาวกระโดดได้ไกล มีปีกบินได้ มีหลายชนิด คือ ตักแตนโม ตักแตนแดง ตักแตนเข้า ตักแตนง้าว ตักแตนหมู อย่างว่า อัศจรรย์ใจโอ้ตักแตนโมป้องหมู่มั่ง เขียดจ่านาป้องหมู่ช้างยืนเก้ออยู่ท่งหลวง (ปัญหา). -
ตัง
แปลว่า : ต้นตัง มียางเหนียว ใช้ติดจักจั่น แมงอี่ หรือเอายางไม้ผสมน้ำมันยางคลุกให้เหนียวก็เรียก ยางตัง ยางกะตังกะติ้ว ก็ว่า.