ภาษาอีสานทั้งหมด 5226 - 5235 จาก 17431

  • เตอะ
    แปลว่า : สวะที่ลอยไปตามน้ำ เรียก เตอะ ขี้กะเตอะ ก็ว่า อย่างว่า แก้มเปิ่นเวิ่น แก้มเจ้าเปิ่นเวิ่น ขี้กะเตอะวังเวินไหลเซาะน้ำเซินอยู่ย้าวย้าว (กลอน).
  • เตอะ
    แปลว่า : กรอง เอาผ้ากรองน้ำเรียก เตอะน้ำ กรองขนมจีน เรียก เตอะเข้าปุ้น.
  • เตอะ
    แปลว่า : เดาะลิ้น เดาะลิ้นเรียก เตอะปาก อย่างว่า มันเล่าทำปาฎิหารย์เข้มขึงตาเตอะปาก คีงเขือกฮ้อนกำก้าวคืดคึง เมื่อนั้นเวสสุวัณท้าวโกธากริ้วโกรธ พระก็เตอะปากง้ำปานฟ้าผ่าเผลียง (สังข์).
  • เตอะเติ่น
    แปลว่า : เสียงตีกลองน้ำ กลองน้ำเป็นกีฬาโบราณประเภทหนึ่ง เปิดโอกาสให้ชายหนุมหญิงสาวได้ใกล้ชิดจับมือถือแขนกันโดยเสรี การเล่นชายหนุ่มหญิงสาวลงไปในน้ำ ใช้มือของตนทั้งสองข้างตีน้ำให้มีเสียงดังและร้องเพลงตีกลองน้ำ.
  • เตะ
    แปลว่า : ใช้ตีนวัดหรือเหวี่ยงไป เรียก เตะ ถีบ ทำ ก็ว่า อย่างว่า ค้อมว่าแล้วม้าถีบพลันเตะ (กา) นุ่งผ้ารอยชายไม่เหน็บเตี่ยว เรียก นุ่งผ้าเตะเตี่ยว.
  • เต๊ะเซะ
    แปลว่า : ลักษณะที่ใหญ่ยาวหย่อนลงมา เช่นนม เรียกนมยานเต๊ะเซะ ถ้าเล็กเรียก ยานแต๊ะแซะ.
  • เต่า
    แปลว่า : สัตว์สี่เท้าเลื้อยคลานจำพวกหนึ่งมีกระดองหุ้ม เรียกเต่า มีหลายชนิด คือเต่ากา เต่านา เต่าเพ็ก เต่ากาบลาง เต่าสกล อย่างว่า เต่าบ่ไป เอาไฟจูดก้น โผดเต่าให้เถิงหนอง (ภาษิต) ราชสีห์เต่า แหนงสู้อยู่ที่เก่าเสียดี (ภาษิต).
  • เต้า
    แปลว่า : สิ่งที่มีสัณฐานเหมือนลูกน้ำเต้า เรียก เต้า เช่น เต้าปูน นมก็เรียก เต้า อย่างว่า นมเหลือเต้าสังบ่สานกระทอใส่ บาดห่าไฟไหม้บ้านใผชิหิ้วกระต่านม (กลอน).
  • เต้า
    แปลว่า : ลูกสืบสายโลหิต เรียก ลูกเต้า อย่างว่า ลูกเต้าบ่ฟังความพ่อแม่ ผีแก่เข้าหม้อนฮกเทิงดิบ พ่อแม่บ่สอนลูกเต้าผีปอบ ผีเป้าจกกินตับกินไต (ภาษิต).
  • เต้า
    แปลว่า : กาสำหรับใส่น้ำกิน เรียก หมากน้ำเต้า หมากน้ำเต้าโบราณใช้หมากอึ หมากน้ำ เจาะเเนื้อข้างในออก แล้วเอามาทำเป็นเต้าใส่น้ำกินเย็นดี อย่างว่า หมากน้ำเต้าเป่ามันดัง (ภาษิต).