ภาษาอีสานทั้งหมด 5241 - 5250 จาก 17431
-
เต้าแม่นางแมว
แปลว่า : เป็นพิธีขอฝน โดยเอาแมวใส่ในกระทอแล้วว่าคำเซิ้งขอน้ำฝน แห่นางแมวไปตามบ้าน ถึงเรือนใครก็ตักน้ำรดแมว (ประเพณี). -
เตาะ
แปลว่า : ตีหรือเคาะเบาๆ เรียก เตาะ เช่น เอาแส้เตาะหมูให้วิ่งไปตามทาง เคาะกลองด้วยค้อนเบาๆ เรียก เตาะกลอง. -
เตาะแตะ
แปลว่า : ตอแหล ตอแย เช่น ตอแหลเรียก เตาะแตะ เกาะแกะ ก็ว่า. -
เต๊าะแต๊ะ
แปลว่า : อาการเดินของเด็กที่เพิ่งสอนเดิน ว่า ย่างเต๊าะแต๊ะ. -
เต๊าะเมาะ
แปลว่า : ของที่มีลักษณะนูนแต่เล็กเรียก เต๊าะเมาะ ถ้าใหญ่ว่า โต๊ะโมะ โต๋โหม ก็ว่า. -
เต๊าะเยาะ
แปลว่า : ลักษณะของหอหรือโฮงที่ปลูกขึ้น ถ้าเล็กเรียก เต๊าะเยาะ ถ้าใหญ่เรียกว่า โต๊ะโย๊ะ. -
เตาะเหลาะ
แปลว่า : งาม เกลี้ยงเกลาแต่เล็ก เรียก เตาะเหลาะ ถ้าใหญ่ว่า ตุหลุ อย่างว่า ตุหลุเจ้าผู้พั้วดอกต้าง โงใส่ใผตั้งแต่ฮ้างบุญส้วมน้องบ่มี (ผญา). -
เติ่ง
แปลว่า : กาง กว้าง ใหญ่ ใบหูกางเรียก ใบหูเติ่ง. -
เติ่งเคิ่ง
แปลว่า : ค้างเติ่ง -
เติดเหลิด
แปลว่า : เตลิด ไปโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง ค่ำไหนนอนนั่น เรียก เติดเหลิด เติดเหลิดเปิดเปิง ก็ว่า.