ภาษาอีสานทั้งหมด 5221 - 5230 จาก 17431
-
เต้ย
แปลว่า : ทำนองลำชนิดหนึ่ง เป็นลำยาวแบบกลอนสั้น คล้ายกับผญา แต่มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น เต้ยพม่า เต้ยมอญ เต้ยหัวดอนตาล คงจะเปลี่ยนเป็นชื่อที่อยู่ของผู้ลำมากกว่า เพราะกลอนที่ลำนั้นก็เป็นแบบลำลาวทั้งสิ้น เรียก ลำเต้ย. -
เต้ย
แปลว่า : พูดเกี้ยว การไปพูดเกี้ยวสาว เรียก ไปเต้ยสาว. -
เตอ
แปลว่า : ลู่ไป ต้นข้าวที่ถูกลมพัดล้มไปทางเดียวกัน เรียก ล้มเป็นเตอ. -
เต้อ
แปลว่า : ซีด, เหลือง, ไม่สด คนหน้าซีดเรียก คนหน้าเต้อ อย่างว่า สีหมากหว้าชมพูหายาก สีม้อนเต้อหาได้คู่ยาม (กลอน). -
เตอเยอ
แปลว่า : ค้างเติ่ง สิ่งใดที่ทำไม่เสร็จปล่อยค้างไว้เป็นแรมปี เช่นสานจ่อหรือกะด้งไม่เสร็จค้างไว้บนขื่อ อย่างว่า ค้างเตอเยอแม่นกระด้งค้างข่วน กระด้งค้างข่วนให้สูม้วนสะเยอ จักตอกเปอเคอแม่นตอกไม้ไผ่ สานปลิ้นสานไป่ข้วมห้ายอสอง ตามทำนองเขาจั่งว่ากระด้ง (กลอน). -
เตอะ
แปลว่า : สวะที่ลอยไปตามน้ำ เรียก เตอะ ขี้กะเตอะ ก็ว่า อย่างว่า แก้มเปิ่นเวิ่น แก้มเจ้าเปิ่นเวิ่น ขี้กะเตอะวังเวินไหลเซาะน้ำเซินอยู่ย้าวย้าว (กลอน). -
เตอะ
แปลว่า : กรอง เอาผ้ากรองน้ำเรียก เตอะน้ำ กรองขนมจีน เรียก เตอะเข้าปุ้น. -
เตอะ
แปลว่า : เดาะลิ้น เดาะลิ้นเรียก เตอะปาก อย่างว่า มันเล่าทำปาฎิหารย์เข้มขึงตาเตอะปาก คีงเขือกฮ้อนกำก้าวคืดคึง เมื่อนั้นเวสสุวัณท้าวโกธากริ้วโกรธ พระก็เตอะปากง้ำปานฟ้าผ่าเผลียง (สังข์). -
เตอะเติ่น
แปลว่า : เสียงตีกลองน้ำ กลองน้ำเป็นกีฬาโบราณประเภทหนึ่ง เปิดโอกาสให้ชายหนุมหญิงสาวได้ใกล้ชิดจับมือถือแขนกันโดยเสรี การเล่นชายหนุ่มหญิงสาวลงไปในน้ำ ใช้มือของตนทั้งสองข้างตีน้ำให้มีเสียงดังและร้องเพลงตีกลองน้ำ. -
เตะ
แปลว่า : ใช้ตีนวัดหรือเหวี่ยงไป เรียก เตะ ถีบ ทำ ก็ว่า อย่างว่า ค้อมว่าแล้วม้าถีบพลันเตะ (กา) นุ่งผ้ารอยชายไม่เหน็บเตี่ยว เรียก นุ่งผ้าเตะเตี่ยว.