ภาษาอีสานทั้งหมด 6531 - 6540 จาก 17431
-
ป่อง
แปลว่า : ไม่มีโกน (โพรง) ข้างใน ได้แก่ พวกไม้ไผ่เรียก ไม้ป่อง. -
ป่อง
แปลว่า : มนต์ที่ทำให้มีสติปัญญา จำอะไรได้ง่าย เรียก มนต์ป่อง คนที่จดจำอะไรได้ง่าย เรียก คนป่อง. -
ป้อง
แปลว่า : ต้อน ขับไล่ ต้อนวัวควายไปกินหญ้ากินน้ำ เรียก ป้อง อย่างว่า แก้มอ่งต่งแก้มเจ้าอ่งต่ง นุ่งผ้าสะโหร่งขัดมีดสะดำ แพดอกคำเคียนหัว โชดไล่ป้องหมู่งัวอยู่ล่ายล้าย (กลอน). -
ป้องหล่อ
แปลว่า : คันกั้นน้ำฝนที่ขุดไว้ใต้ชายคาบ้าน เรียก ป้องหล่อ ไม้ที่กั้นดินที่ขุด เรียก ไม้ป้องหล่อ. -
ปอด
แปลว่า : ชื่อผักตบชนิดหนึ่ง สีเขียว ดอกสีขาว เรียก ผักปอด. -
ป้อน
แปลว่า : เอาอาหารให้เด็กกิน เรียก ป้อนเข้า เอาหญ้าให้วัวควายกิน เรียก ป้อนหญ้า อย่างว่า พระก็ปลงคำให้หานางป้อนม่าม (กา) นายนั่งป้อนปันหญ้าคู่ตัว (สังข์). -
ปอบ
แปลว่า : ผีจำพวกหนึ่งสิงอยู่ในตัวคน เรียก ผีปอบ ผีปอบมีหลายชนิด คนที่ชอบกินของดิบ เช่น กบดิบเขียดดิบ กลางคืนมักจะออกหากิน มีแสงออกตามจมูกสีเขียว พวกหนึ่งเรียนมนต์แล้วปฏิบัติตามครูสอนไม่ได้มนต์เกิดเป็นผี กินคนอื่นไม่ได้ก็กินตัวเองเรียก ปอบมนต์ อีกพวกหนึ่งไม่ได้เรียนอะไร แต่พี่น้องเป็นปอบ เมื่อพี่น้องตายไปแล้วปอบเข้ามาสิงอยู่ในตัว ปอบชนิดนี้เรียก ปอบเชื้อ ปอบทุกชนิดหมอมนต์เขารักษาให้หายได้. -
ปะกำ
แปลว่า : แส้หวายลงคาถาสำหรับไล่ผี เรียก แส้ปะกำ เชือกหนังสำหรับคล้องช้าง เรียก หนังปะกำ. -
ปะคือ
แปลว่า : ร่ม ฉัตร อย่างว่า ถัดนั้นไทปะคือตั้งเลียนถันแสนติ่ว (กา) ม้าแอบคุ้นคอสอดสะเนียนทอง นายนักการเขาแต่งดีดาเมี้ยน ปะคือคำตั้งเหนือหัวหอนนาค นายนั่งป้องยังหุ้มเครื่องคำ (สังข์) เฟื่องเฟื่องกั้งคชฮ่มพานคำ พังเพียรทรงอินทรีย์ย่างผายผันย้อง ธรรม์ยำท้าวเนาในปะคือมาศ บ่ฮู้กี่ส่ำถ้องถนิมแกว่งจำมร (ฮุ่ง). -
ปักตู
แปลว่า : ประตู ประตูเรียก ปักตู ปักกะตู ก็ว่า ปักตูเมือง สมบัติประจำเมืองได้แก่ อาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับป้องกันเมือง (คลองสิบสี่).