ภาษาอีสานทั้งหมด 7291 - 7300 จาก 17431
-
พายสง
แปลว่า : เพชรกัน ชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง เรียก เครือพายสง อย่างว่า เฮียมนี้เทียมดั่งปลาเข็งข้อน หนองนาน้ำเขินขาดฝนบ่มาโผดให้ชิตายแล้งแดดเผา คึดต่อดอกขัดเค้าบานอยู่กลางดง คึดต่อเครือพายสงเล่าบ่มีลำเกี้ยว (ผญา). -
พายัพ
แปลว่า : ทิศตะวันตกเฉียงเหนือเรียก ทิศพายัพ อย่างว่า ครุฑก้เนาอยู่ยั้งหนแห่งบูรพา อาคเณย์แมวอยู่เฝือแฝงฝั้น ทักษิณก้ำราชสีห์แหนแห่ บักเค้าเม้านั่งเฝ้าหรดี ปัจฉิเมนาคเกี้ยวพันดอน พายัพก้ำโคจรหนูอยู่ อุดรช้างพลายสารล้านเถื่อน เลื่อนเลื่อนงัวแม่ง้องกินหญ้าฝ่ายอีสาน (โสกตัวเพิ่ง). -
พาล
แปลว่า : โง่ เขลา เบาปัญญา คนโง่เรียก คนพาล อย่างว่า คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล คบคนชั่วพาตัวยากจน (ภาษิต). -
พาโล
แปลว่า : แสร้งพูดใส่ความไม่จริงให้คนอื่น เรียก พาล อย่างว่า อย่าว่าเฮียมพาโลเลสสะหาวหาน้อง (กาไก) อันนี้เป็นหว่างให้เห็นเหตุสงสาร ใผอย่าพาลพาโลวิชิสีนเสียได้ (สังข์) ใผผู้พาโลล้นไปกวนกุมเพื่อน นั้นเด (ฮุ่ง). -
พาหุรัด
แปลว่า : เครื่องสวมรัดต้นแขน โบราณอีสานเรียก ม้าว อย่างว่า ม้าวใส่แขนแหวนใส่ก้อย ปัดน้อยสร้อยสังวาล (เวส). -
พาเหวย
แปลว่า : สำรับที่พระราชาเสวย อย่างว่า ปุนดาตกแต่งพาเหวยตั้ง (กาไก). -
พิกวิก
แปลว่า : สิ่งที่เล็กชันแข็ง เช่น เส้นผมเรียก ผมชันพิกวิก ซิกลิก ก็ว่า ถ้าเส้นใหญ่เรียก ซันพึกวึก ซึกลึก ก็ว่า. -
พิชโภช
แปลว่า : อาหารคาวหวาน เรียก พิชโภช อย่างว่า สองก็ละลูกไว้เหนือฟูกเฮียงหมอน แยงในปรางค์ล่ำดูพอสอึ้น นานาพร้อมของคามพิชโภช ทังเสื้อผ้าผืนเล้มต่าคาม (สังข์). -
พิชะ
แปลว่า : พืชผลที่เจริญเติบโตต่อไป เรียก พิชะ อย่างว่า พิชสลาเสี้ยวแสนกอกางกลีบ ระดูพีชพร้อมเพ็งถ้วนเถื่อนแถว มานั้น (สังข์). -
พิญิ
แปลว่า : เรียกใบไม้ที่เริ่มแตกใบว่า แตกพิญิ เรียกบาดแผลที่ใหญ่ว่า พึญึ.