ภาษาอีสานทั้งหมด 7781 - 7790 จาก 17431
-
มายโมหัง
แปลว่า : หายความสงสัย เรียก มายโมหัง อย่างว่าเซ้งว่าสีหราชท้าวทังโลกเขาขาม เขาก็มายโมหังกล่าวพรถวายถ้อย คบหนึ่งวันยวงขึ้นบัวระพาพันทีป เจ้าจักเจียระจากอ้ายพระองค์อ้วนสั่งลา (ส.). -
มายา
แปลว่า : การลวง การแสร้งทำ เล่ห์กล มารยา ก็ว่า อย่างว่า มันก็ทำเพศหน้าเหลียวปิ่นไปมา มายาผีหลอกลวงคนใบ้ ประสงค์เสียงส้ามเชิงเสนห์อ้อยอิ่น เมื่อนั้นภูวนาถเจ้าจรดั้นดุ่งเถิง (สังข์) (ป.). -
มายาวี
แปลว่า : ผู้มีมายา ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมทำให้หลง เจ้าเล่ห์ (ป.ส.). -
มาร
แปลว่า : ผู้กีดกันไม่ให้ทำความดีเรียก มาร ในพระพุทธศาสนาเหมายเอามาร ๕ จำพวก คือ กิเลศมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร อย่างว่า หลิงดูฟ้ามืดกุ้มเป็นฮ่มนครหลวง พุ้นเยอ ระดูเดือนดนด่วนมาเถิงเค้า สาวกษัตริย์เจ้าธรงภาร์พร้อมแก่ พอเมื่ออุตมะโชคได้ชัยแพ้หมู่มาร (สังข์). -
มาลัย
แปลว่า : ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง อย่างว่า สามนางน้อมมาลัยทูลบาท (กาไก). -
มาลา
แปลว่า : ดอกไม้ สร้อยคอ หมวก อย่างว่า ชาติที่มาลานี้ดวงหอมฮสห่วง ใผผู้เข้าชมได้ดมแล้วบ่อยากหนี (กลอน) คีงคาดแก้วมณีสอดแสนสวย มาลาแถวก่องกวมตะเกิงเกล้า หลิงใผเพี้ยงเทิงธะรังรือเกิ่ง เนื้อฮาบเกลี้ยงปุนไล้แท่งทอง (สังข์). -
ม้าว
แปลว่า : พาหุรัด เครื่องประดับต้นแขนเรียก ม้าว ม้าวเป็นเครื่องประดับชั้นสูงสำหรับพระราชามหากษัตริย์ใช้ ถ้าคนธรรมดาสามัญใช้ก้องแขน ก้องขา คือเอาเงินหรือทองคำตีเป็นบ่วงกลมๆ สวมที่ข้อแขนและข้อขา ซึ่งเรียกว่า ก้องแขน ก้องขา อย่างว่า บัวนางล้อมระวังเพ็งพื้นล่าง ถวายเสื้อผ้าทังม้าวมิ่งแหวน (สังข์) ม้าวใส่แขนแหวนใส่ก้อยปัดน้อยสร้อยสังวาล (เวส) ม้าวฮัดคล้องแขนน้อยดั่งแมน (ขูลู). -
ม้าวมิ่ง
แปลว่า : กำไลต้นแขนที่เป็นศิริมงคล อย่างว่า บัวนางล้อมระวังเพ็งพื้นล่าง ถวายเสื้อผ้าทังม้าวมิ่งแหวน (สังข์). -
มาศ
แปลว่า : ทองคำ อย่างว่า ประดับช่อฟ้ามุงมาศดาวดำ มุงทองแดงหล่อตันตางฝ้า มเหสีแก้วจันทาเทียมราช งามยิ่งย้อยปุนปั้นแปกเขียน (สังข์) สีมาศ สีเหมือนทองคำ อย่างว่า ดูดั่งสีมาศแม้งยังยิ่งนางกษัตริย์ (สังข์). -
มำมำ
แปลว่า : ร่ำไร บ่อยๆ กินบ่อยๆ เรียก กินมำมำ อย่างว่า กินมำมำบ่คลำเบิ่งท้อง (ภาษิต).