ภาษาอีสานทั้งหมด 8281 - 8290 จาก 17431


  • แปลว่า : เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาาาอีสาน ถ้าใช้ตัว ฤ ออกเสียงเป็นสระอิ เช่น คำว่า พฤกษา อ่าน พิกษา เพี้ยนเป็น พิชสลา อย่างว่า ฟังยินฮว่านฮว่านฟ้าฮ้องเง่าระงมฝนพุ้นเยอ วาโยเผลียงล่วงควันคุงด้าวพิชสลาเสี้ยวแสนกอกางกลีบ ระดูพีชพร้อมเพ็งถ้วนเถื่อนแถว
  • ฤา
    แปลว่า : เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาาาอีสาน ถ้าใช้ฤษี หรือ ฤาษี ก็ใช้ รัสสี แทน อย่างว่า ยามเมื่อพราหมโณเถ้าเดินไพรไปฮอด มันก็ขอจอดยั้งรัสสีเจ้าแวะเซา เถ้าก็ก้มขาบไหว้ชุลีนอบบังคม ทูลธรรม์ยำกล่าวกลอนแถลงต้าน (เวส-กลอน).
  • ลก
    แปลว่า : เล้าไก่ เล้าไก่เรียก ลกไก่ นกไก่ ก็ว่า อย่างว่า ตกตาว่าได้ลงลายม้วนบ่เป้นบุงกะวิให้เป็นต่า บ่เป้นกะซ้าให้เป้นข้องใส่หอย บ่เป้นกลอนเฮือนชิให้เป้นกลอนเล้า คันบ่เป็นอันใดแท้ชิถุยลุยลงให้เป็นไม้ลกไก่ คันบ่ได้แท้แท้ชิยอม้วนใส่ไฟ (กลอน).
  • ลก
    แปลว่า : หก โบราณเรียกลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลก คู่กับลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า อก อย่างว่า ขุนบุรมนั้นเมียเพิ่นสองคน เมียหลวงนั้นชอบกลเอ้ดแคงเป็นชื่อ ให้พากันจำจื่อลูกเพิ่นสามองค์ ชิบอกให้ตรงขุนลอทีแรก ผู้ที่สองนั้นแปลกนามขุนลกกม คนทั้งหลายนิยมลือซาเซ็งซ่า.
  • ลง
    แปลว่า : จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เช่น ลงจากเรือนสู่พื้นดิน อย่างว่า ค้อมว่าหมอกล่าวแล้วองค์พระบาทยินดี ทังปวงลุกเลิกลาลงห้อง ดีแก่นายครัวย้ายพานทองถวายราช ภูเบศรเจ้าเสวยแล้วเลิกไล (สังข์) การตกลงที่จะทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งเรียก ตกลง ตกลงปลงใจ ก็ว่า.
  • ลงข่วง
    แปลว่า : สถานที่สำหรับปั่นฝ้าย เรียก ข่วง ข่วงนี้ปลูกยกพื้น สูงประมาณหนึ่งศอก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่ากับจำนวนคนที่จะมาใช้ ไม่มุงหลังคา หญิงสาวชวอีสานหลังเสร็จงานนาจะมาใช้สถานที่ฝึกหัดทำฝ้ายไหมเพื่อทอผ้านุ่งห่ม ชายหนุ่มก็จะมาเกี้ยวพาราสี.
  • ลงแขก
    แปลว่า : การขอแรงญาติพี่น้องให้มาช่วยทำงานโดยไม่ให้ค่าจ้างรางวัล เรียก ลงแขก คนอีสานสมัยโบราณช่วยเหลือเกื้อกูลกันเกือบจะทุกกิจการ เช่น สร้างต่อเติมบ้านเรือน ดำนา เกี่ยวข้าว หรือสาธารณประโยชน์ เช่น ทำนุบำรุงวัด ถนนหนทาง เป้นต้น.
  • ลงคอ
    แปลว่า : คนที่มีนิสัยใจคอเหมือนกัน คบหาสมาคมกันได้ เพื่อนชวนให้ปทำบุญทำทานหรือทำอะไรก็ตกลงปลงใจทำได้โดยไม่ตะขิดตะขวง.
  • ลงเงิน
    แปลว่า : เอาเงินมาวางกันเพื่อรวบรวมทำกิจการที่เป็นกุศล เช่น สร้างพระพุทธรูป สร้างสถูปเจดีย์ สร้างถาวรวัตถุมีโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น.
  • ล้งจ้ง
    แปลว่า : คนที่นั่งหรือยืนในท่าไม่ตรง เรียก นั่งหรือยืนล้งจ้ง.