ภาษาอีสานทั้งหมด 8691 - 8700 จาก 17431

  • วู่
    แปลว่า : อาการที่เปลวไฟลุกพุ่งใส่เรือน เรียก ไฟวู่ใส่เฮือน.
  • วู่วู่
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงลมพัดดังวู่วู่ อย่างว่า หอมดอกจิกมาหวั้งหวั้ง หอมดอกฮังมาวู่วู่ หอมดอกดู่มาแบ่งก้าน คือเจ้าชิแบ่งสอง (กลอน).
  • เว
    แปลว่า : เห เฉ หัวเรือที่เห เรียก เฮือเว อย่างว่า คึดอยากจงใจค้ำก็มาเวทางถ่อเฮือนนอ (สุด).
  • เว่อ
    แปลว่า : ส้มซ่า ชื่อส้มชนิดหนึ่ง เปลือกหนา เรียก หมากเว่อ อย่างว่า ที่นั้นเป็นป่าไม้หวานส้มเว่อนาว (กาไก) ฝูงหมู่เฟืองไฟส้มนาวกานแกมเว่อ (เวส-กลอน).
  • เว้อ
    แปลว่า : บาน ปากบานเรียก ปากเว้อ อย่างว่า งัวบ่กินหญ้าอย่าได้ข่มเขาหัก หมูบ่กินฮำอย่าตีดังชิเว้อ (ภาษิต) อย่าได้ติดตามส้นของคนท้องยึ่ง มันชิตดใส่เจ้าดังเว้อปึ่งเหม็น (ย่า) มีหมาขาห้านมีแมวขาเด่ มีหมูปากเว้อมีม้าปากเหวอ (ย่า).
  • เว่า
    แปลว่า : เปล่า เหี่ยว แห้ง คนที่ไม่ทำการทำงาน ชอบพูดคุยเวลากลับไปบ้านไม่มีอาหารกิน โบราณเรียก ท้องเว่า เหมือนจักจั่นร้องตลอดวัน ไม่มีเวลาทำมาหาเลี้ยงชีพ ท้องก็เหี่ยวแห้ง ได้กินแต่ลม เดี๋ยวก็เป็นลมตาย.
  • เวิง
    แปลว่า : บริเวณ ขอบเขต บริเวณวัด เรียก เวิงวัด บริเวณบ้าน เรียก เวิงบ้าน บริเวณเมือง เรียก เวิงเมือง อย่างว่า ล้นแต่คุ้มเวิงน้อยนอกใน (ฮุ่ง).
  • เวิ่ง
    แปลว่า : ลมพัดใบไม้ปลิว เรียก ปิวเวิ่งเวิ่ง หรือ เรือลอยไปตามน้ำ เรียก ลอยเวิ่งเวิ่ง.
  • เวิ้ง
    แปลว่า : อ้อม โค้ง คด ทางที่ไม่ตรง เรียก ทางเวิ้ง อย่างว่า เทียวทางเวิ้งเหิงนานมันชิค่ำ อย่ามัวกินหมากหว้ามันชิช้าค่ำทาง (กลอน).
  • เวิน
    แปลว่า : บริเวณที่มีน้ำไหลวน เรียก เวิน วังเวิน ก็ว่า อย่างว่า ตามตาดต้ายเทียวท่องเลยลง ฟังยินเค็งเค็งไหลหล่มเวินวังกว้าง ที่นั้นเป็นพะลานกว้างสถานภูมิเพียงฮาบ โลกแต่งตั้งเดิมชั้นชั่วลาง (สังข์) เมื่อนั้นผู้ก่งท้าวเถิงที่ลินคำ แสนวังเวินย่านยาวไหลก้อง มีทังจำปีพร้อมจำปาเดียระดาษ ฮสดอกไม้โฮยเฮ้าทั่วไพร (ฮุ่ง).