ภาษาอีสานทั้งหมด 8721 - 8730 จาก 17431

  • โวก
    แปลว่า : ตอบ บุ๋ม แก้มที่ตอบหรือบุ๋ม เรียก แก้มโวก แก้มโวบ ก็ว่า.
  • โวโว
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น คนพูดโอ้อวด อย่างว่า ทางเส้นเค้าอย่าได้กวาดหนามปก อย่าได้เทียวทางฮกป่าดงเสือฮ้าย อย่าได้เหลือแต่ต้านโวโวพ้นเพื่อน เว้าบ่เป็นประโยชน์นี้ผีฮ้ายชิแล่นตำ (ย่า).
  • โว่โว่
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงลมพัดกระบอกไม้ไผ่ อย่างว่า ลมพัดต้องใบใผ่โวกวิโว ลมพัดต้องใบโพโวกวี่โว่ ลมพัดต้องใบพร้าวให้ต่าวมา (ผญา).
  • ไว
    แปลว่า : เร็ว รีบ คล่อง พลัน ทันทีทันใด อย่างว่า เทียวทางท่งแดดวอน เทียวทางดอนแดดไหม้ ถกขาไวให้ฮีบฟ้าวหาฮ่ม (กลอน).
  • ไว่ไว่
    แปลว่า : เดินอย่างเร่งรีบ เรียก ย่างไว่ไว่ ไปไว่ไว่ มาไว่ไว่.
  • ไว้
    แปลว่า : คำประกอบท้ายคำกิริยาให้สมบูรณ์ เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ถ้าประกอบหน้าคำนาม มีความหมายไปในทำนองเดียวกัน เช่น ไว้ใจ ไว้ตัว ไว้ทุกข์.
  • ไวยาวัจมัย
    แปลว่า : บุญสำเร็จด้วยการ เช่น ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา.
  • วงแวด
    แปลว่า : เขตแดนที่กำหนดไว้ เช่น เขตเมือง เขตป่า อย่างว่า วงแวดล้อมเป็นเขื่อนขนงเมือง (สังข์).
  • วจนัง
    แปลว่า : คำพูด ถ้อยคำ (ป.ส.) อย่างว่า วจนังน้อมธรงธรรมทักเถี่ยว ฝูงพี่น้องกันตั้งต่าวมา แล้วรือ (สังข์) แล้วต่าวตั้งคืนคอบเร็งโญ ภูมีตรัสเหตูเห็นหุมสู้ วจนังต้านคำแข็งขมขนาด เฮาจักเข้าแปร่ม้างมารต้องต่อมือ ก่อนแล้ว (สังข์).
  • วจีกรรม
    แปลว่า : การพูด การกระทำทางวาจา (ป. วจีกมฺม).