ภาษาอีสานทั้งหมด 8741 - 8750 จาก 17431

  • วรุณนาค
    แปลว่า : นาคเป็นใหญ่ในเมืองบาดาล เรียก วรุณนาค อย่างว่า ฟังยินฟ้าสนั่นน้าวเบยเบิกบูรพา พุ้นเยอ นับแต่วรุณราชลงลาไท้ พระก็หอมพลผ้ายเวหาหลายหลั่น มโนนาถไท้ทวงฝั้นฝ่ายหลัง (สังข์).
  • วสี
    แปลว่า : ผู้ชำนะตนเอง ผู้สำรวมอินทรีย์ ผู้ตัดกิเลส ผู้ชำนาญ (ป.).
  • วองแวง
    แปลว่า : คนที่มีจิตใจไม่มั้นคง แสดงอาการดุจลิง เรียก วองแวง อย่างว่า นางนี้ใจวองแวงยาดกันกินช้าง (สังข์).
  • ว่องโหว้
    แปลว่า : ฟันที่หลุดออกเป็นช่องโหว่ เรียก แข้วว่องโหว้ อย่างว่า ใจบาปเบื้องบุญบ่มันสงวน คนนองในเป็งจาลกล่าวมันมาอ้าง ยามเมื่อเทียวทางแท้คอยคือม้าปล่อย ทวารว่องโหว้ขาวล้านเดิ่นแดง (สังข์).
  • วอน
    แปลว่า : พยับแดด ประกายแดด แสงแดดที่กล้าปรากฏเป็นรูป อย่างว่า เทียวทางท่งแดดวอน เทียวทางดอนแดดไหม้ ให้ถกขาไวไวฮีบฟ้าวหาฮ่ม (กลอน).
  • วอน
    แปลว่า : กระสัน อย่างว่า พาเพื่อนเหล้นไพรกว้างสว่างวอน (สังข์).
  • วอน
    แปลว่า : เฝ้าขอ ร่ำขอ ขอด้วยอาการร่ำไร เรียก วอน อย่างว่า ขอวอนให้ภูมีไลโทษ โผดข้าน้อยคราวนี้เทื่อเดียว แด่ถ้อน (กลอน) ฟังยินขีณีเอิ้นตามบาวีว่อน มันก็วอนจ้อยจ้อยเสียงน้อยแอ่ววอน (สังข์) ดีแก่ยูงสูรฮ้องเสียงวอนในเถื่อน เอื้อยมุ่งซ้ำแถมถ้อยกล่าวกลอน (ฮุ่ง).
  • วะ
    แปลว่า : ต่อท้ายประโยคคำถาม เช่น กินเข้ากับหยังวะ สูชิไปใสวะ เป็นต้น.
  • วะ
    แปลว่า : เว้น ว่าง เปิดทางให้ อย่างว่า ทันทังเถ้าใส่ฟ้าทังท่านอาวลำ เมืองหลวงเขาตื่มนันเนืองให้ เขาก็ซำลวาผ้ายเฮวถองเถิงราช วะหว่างไว้ปุนถ้าแขกเมือง (ฮุ่ง).
  • วักวัก
    แปลว่า : อาการที่เด็กสั่นเพราะความหนาว