ภาษาอีสานทั้งหมด 8761 - 8770 จาก 17431

  • วันแข็ง
    แปลว่า : วันที่โบราณถือว่าเป็นวันแข็งได้แก่ วันอาทิตย์ วันอังคาร วันเสาร์ ถ้าจะทำเกี่ยวแก่การรบทัพจับศึก มักจะเลือกเอาวันเช่นนี้ สำหรับวันอังคารห้ามไม่ให้เผาศพ ถ้าจำเป็นต้องเผาก็ให้ใช้กุศโลบายที่หลักแหลม โบราณจึงถือว่าไม่เข็ดขวาง.
  • วันจมวันฟู
    แปลว่า : วันที่ทำการอะไรแล้วมักประสบความยุ่งยากลำบากใจเรียก วันจม วันที่ทำการสะดวกสบายไม่ขัดข้อง เรียก วันฟู
  • วันตัวเพิ่ง
    แปลว่า : ถ้าอยากทราบว่าปีนี้เราพึ่งสัตว์ตัวไหน ผู้ชายให้นับอายุหนึ่งปีลงที่เสือเวียนไปหานาค ผู้หญิงนับอายุหนึ่งปีลงที่วัวเวียนไปหาครุฑ วันตัวเพิ่งโบราณให้โฉลกไว้ดังนี้ ครุฑบู พัพพูอา สีหาทัก พยัคฆ์หอ นาโคปัจ มูสิกัดพา กุญชราอุ อุสภอิ .
  • วันแถ
    แปลว่า : วันที่พระปลงผมเรียก วันแถ เดือนหนึ่งข้างแรมปลงวันแรม ๑๔ ค่ำ ข้างขึ้นปลงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ปัจจุบันปลงเดือนละครั้ง คือปลงในวันขึ้น ๑๔ ค่ำของทุกเดือน วันปลงผมเรียก วันแถ มื้อแถ ก็ว่า.
  • วันทน
    แปลว่า : การไหว้ วันทน วันทนา วันทนาการ ก็ว่า (ป.).
  • วันทา
    แปลว่า : ไหว้ แสดงอาการเคารพ (ป. วนฺท) อย่างว่า ขอวันทาพระยอดคุณไตรแก้ว (กา).
  • วันทุกข์ทึน
    แปลว่า : วันที่ไม่ควรทำการอันเป็นมงคล ถ้าทำก็จะประสบความลำบาก .
  • วันทุติตัง
    แปลว่า : วันที่ประสบความยุ่งยากลำบากใจ เรียก วันทุติตัง จะทำการอันเป็นมงคลโบราณห้าม วันทุติตังมีโฉลกดังนี้ ยี่สามสี่เถิงที่ตะยา ห้าหกเจ็ดอัฐมาเป็นเค้า แปดและเก้าสิบเข้านพพา สิบเอ้ดสิบสองเจียงจาเป็นเอก .
  • วันพระ
    แปลว่า : วันที่พระสงฆ์ทำกิจพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ มีการฟังเทศน์ ทำวัตรสวดมนต์ บำเพ็ญสมถวิปัสสนากัมฐาน เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือวันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำในเดือนเต็ม ถ้าเดือนขาดเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียก วันพระ.
  • วันเพ็ง
    แปลว่า : วันพระจันทร์เต็มดวง เรียก วันเพ็ง เดือนหนึ่งๆ มีเพียงหนึ่งวัน คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ.