ภาษาอีสานทั้งหมด 8881 - 8890 จาก 17431

  • เอ้น
    แปลว่า : แอ่น งอน สิ่งของที่มีลักษณะแอ่นงอนมาก เรียก เอ้น.
  • เอียดเหลียด
    แปลว่า : ตรง ไม่คด ไม่โกง คนที่ซื่อตรงไม่คดในข้องอในกระดูก เรียก ซื่อเอียดเหลียด หรือต้นไม้ที่ไม่คดหาที่ตำหนิไม่ได้ เรียก ต้นไม้ซื่อเอียดเหลียด.
  • เอี่ยน
    แปลว่า : ปลาไหล ปลาไหลเรียก เอี่ยน มี ๒ ชนิด คือ เอี่ยนธรรมดา และเอี่ยนด่อน เอี่ยนด่อนมีสีค่อนข้างขาว อย่างว่า เอี่ยนขอเลือดนำกระปู (ภาษิต) ปล่อยเอี่ยนลงตม (ภาษิต).
  • เอื้อย
    แปลว่า : พี่สาว อย่างว่า ภูชัยท้าวธรงดาบเดินกลาย มันก็วอนเสียงใสเล้าโลมพระองค์อ้วน ศรีใสแก้วไปใดดั้นดุ่ง อวนเอย เชิญหม่อมมาจอดยั้ง ดอมเอื้อยอุ่นใจ แด่ถ้อน (สังข์).
  • วาจา
    แปลว่า : คำ คำกล่าว คำพูด (ป.ส.) อย่างว่า วาจาของผู้ชายนี้คือหีนหนักหมื่น ถิ้มใส่น้ำจมปิ้งบ่ติง (กลอน) ผ่อเห็นทักทั่นฟ้าซ้องซ่อเขียวนิล พุ้นเยอ ปุนคำควรค่อยจาจงต้าน ลินลินแล้ววอนวอนชาวแขก ชาวแขกพร้อมชาวบ้านชื่นบาน (ฮุ่ง).
  • ว่าจ้าง
    แปลว่า : จ้างให้ทำงานโดยให้ค่าจ้าง.
  • วาณิช
    แปลว่า : พ่อค้า วาณิช วาณิชกะ (ป.ส.).
  • วาณิชย์
    แปลว่า : การค้าขาย (ส.).
  • วาณี
    แปลว่า : ถ้อยคำ ภาษา (ป.ส.).
  • วาด
    แปลว่า : ท่าทาง ลักษณะแบบอย่าง อย่างว่า อ้ายนี้ชกงกบถืกโสก โซกโลกบถืกตา หมากสีดาบ่แม่นไท้ ไทไกลจั่งแม่นวาด อ้ายนี้ซกงกบ่ถืกตา หมากสีดาบ่ถืกแข้ว หัวมันแกวบ่ถืกปั้นเข้าใหญ่ (กลอน).