ภาษาอีสานทั้งหมด 8891 - 8900 จาก 17431

  • วาด
    แปลว่า : ร่างลวดลายหรือการเขียนรูป อย่างว่า คือดั่งพรหมวาดไว้แมนฟ้าฮูปเดียว (กา).
  • วาด
    แปลว่า : พายเรือจ้วงน้ำเข้ามาหาตัว เรียก วาด อย่างว่า ขัดถืกเววาดท้ายหัวพี่หากชินำ (สุด).
  • วาดา
    แปลว่า : ลม อย่างว่า วันลั่นใกล้ฟ้าเฝียดวาดา เมื่อนั้นเจืองหาญกลอยกล่าวความแควนเผี้ยน สูเยียะดาพลพร้อมภายเฮาฮบก่อน นับท่อเมี้ยนจมแล้วดั่งรือ (ฮุ่ง).
  • วาตะ
    แปลว่า : ลม วาตะ วาตา ก็ว่า (ป.ส.) อย่างว่า แม้นหนึ่งสุรพางฮ้อนวาตาเฮืองราช (ฮุ่ง).
  • ว่าต่าง
    แปลว่า : ว่าความแทนโจทก์.
  • วาทกะ
    แปลว่า : ผู้ประโคม ผู้บรรเลงดนตรี นักดนตรี (ส.).
  • วาทนะ
    แปลว่า : การประโคม การบรรเลงดนตรี (ส.).
  • วาทย
    แปลว่า : เครื่องประโคม เครื่องบรรเลง เครื่องเป่า เรียก วาทย์ วาทย์ ก็ว่า (ส.).
  • วาน
    แปลว่า : ขอให้ช่วยทำแทนตัว เรียก วาน อย่างว่า เพิ่นบ่เอิ้นอย่าขาน เพิ่นบ่วานอย่าซ่อย มักซ่อยแท้ให้พิจารณา (เสียว).
  • ว่าน
    แปลว่า : ชื่อพืชจำพวกหนึ่ง เรียก ว่าน หว้าน ก็ว่า มีหลายชนิด มีหัวบ้าง ไม่มีหัวบ้าง บางชนิดใช้กินเป็นอาหาร เช่น ว่านตูบหมูบ บางชนิดเป็นว่านคงหอกดาบหลาวแหลม เช่น ว่านกระจาย ว่านดักแด้ บางชนิดใช้ทำเสน่ห์ เช่น ว่านเสน่ห์จันทน์ อย่างว่า คนต่างบ้านว่านต่างสวน (ภาษิต).