ภาษาอีสานทั้งหมด 9831 - 9840 จาก 17431

  • หยัด
    แปลว่า : น้ำหยดลงทีละหยด เรียก หยัด เช่น เทน้ำทีละนิดลงในกาหรือกระบอกไม้ไผ่.
  • หยัน
    แปลว่า : เยาะ เย้ย อย่างว่า บัดนี้ภายเพื่อนแจ้งเฮาฮ่างพลอยหมอง แลนอ กรรมใดเบียนบาปเองอายหน้า แหนงสู้เคียนคอขึ้นโตนตายแล้วชาติ จักอยู่ได้เป็นน้อยเพื่อนหยีน แลนอ (สังข์) เศิ็กทั่วท้าวพุ้นเพื่อนมาทัน ลอนตายผางไปดีดูฮ้าย ฝูงเขาข้าไทหยันหยามใหญ่ เมื่อนั้นน้องค่อยหว้ายป่าไม้มาพร้อมเพื่อนพล (ฮุ่ง).
  • หยั่น
    แปลว่า : ยอดโอชะของเครื่องดื่ม เช่น หัวเหล้าสาโท เรียก น้ำหยั่น น้ำหยั่นนี้ถือว่ามีโอรสอร่อยแซบนัวดีนักแล.
  • หยั่น
    แปลว่า : หยด ย้อย น้ำที่ไหลหยดลงมา เรียก น้ำหยั่น อย่างว่า พอเมื่อลมเป่งเปลื้องเหมือยหยั่นนาววอน ภายภูสูงไก่ขันขานก้อง สะลอนล้วนนางแกวนงถ่าว นอนแนบห้องโฮงฮ้านหมื่นเสา (ฮุ่ง).
  • หยั้น
    แปลว่า : กด ขย้ำ กดลงไปอย่างแรงด้วยตีน เรียก ตีนหยั้น กดด้วยมือ เรียก มือหยั้น.
  • หยั่นหยั่น
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงร้องของจักจั่นในฤดูแล้ง อย่างว่า ฮ้องหยั่นหยั่นจักจั่นเดือนสาม (บ.).
  • หยับ
    แปลว่า : กระเถิบ เลื่อน เคลื่อน กระเถิบเข้าไปใกล้ เรียก หยับ อย่างว่า ท้าวก็หยับเข้าใกล้เฮียงห่างนางงาม (ขูลู) เจ้ากล่าวแล้วอาวฮีบฮับขาน มีดั่งสีใสสันผ่อดูดีฮ้าย รือจักถางทางเว้นสงสารในโลกได้นั้น หยับเคี่ยนค้ายดูเบื้องบ่เสถียร (ฮุ่ง).
  • หยั่วหยั่ว
    แปลว่า : ขวักไขว่ คนที่เดินขวักไขว่ไปมา เรียก ย่างหยั่วหยั่ว หยั่วเหยี่ย หยั่วเหยี่ย ก็ว่า.
  • หยั่วเหยี่ย
    แปลว่า : ยั้วเยี้ย คนหรือสัตว์เดินพลุกพล่านไปมา มองดูแล้วเกิดความสับสนวุ่นวาย เรียก ย่างหยั่วเยี่ย.
  • หยา
    แปลว่า : สาก สิ่งซึ่งมีลักษณะขรุขระไม่เรียบร้อย เวลาเอามือไปแตะต้องเกิดระคาย เรียก หยา เช่น หยาตีน หยามือ หยาแข้ง หยาขา.