ภาษาอีสานทั้งหมด 9841 - 9850 จาก 17431

  • หย่า
    แปลว่า : สักครู่ ประเดี๋ยว เมื่อกี้ เช่น ไปเมื่อสักครู่ เรียก ไปหว่างหย่า หนีไปเมื้อกี้ เรียก หนีหว่างหย่า.
  • หย่า
    แปลว่า : เลิก ร้าง ผัวเมียที่เลิกร้างกัน เรียก หย่ากัน เด็กเลิกกินนม เรียก เด็กหย่านม คอเหล้าเลิกจากเหล้า เรียก หย่าเหล้า ร้างจากเล่นการพนัน เรียก หย่าการพนัน.
  • หย้างหย้าง
    แปลว่า : อาการเคี้ยวเอื้องของวัวควาย เรียก เคี้ยวหย้างหย้าง.
  • หยาด
    แปลว่า : เมล็ดฝนหรือก้อนหิมะคือหมากเห็บตกลงมา เรียก หยาดฝน หยาดหมากเห็บ หยาดหมอก.
  • หยาด
    แปลว่า : หยด ย้อย ไหล เมล็ดฝนหรือน้ำค้างที่ไหลลงมาติดกัน เรียก หยาด อย่างว่า คือดั่งหยาดแต่ฟ้าเสด็จท่องธรณี สะบุคีงงามฮาบคำควรย้อง (ฮุ่ง).
  • หยาดน้ำ
    แปลว่า : กรวดน้ำ การแผ่ส่วนบุญอุทิศไปให้ผู้ตายด้วยวิธีหลั่งน้ำ เรียก หยาดน้ำ อย่างว่า บัดนี้ย่าชิพาหมู่เจ้าตกแต่งกองบุญ มื้อนี้เป็นวันศีลเวียกเฮาเซาไว้ ย่าชิพาไปไหว้ยาครูสังฆราช ไปตักบาตรแลหยาดน้ำฟังเจ้าเทศนา (ย่า).
  • หยาดหยาด
    แปลว่า : อาการที่น้ำไหลเป็นสายยาวกว่าน้ำหยด เรียก น้ำไหลหยาดหยาด.
  • หยาบ
    แปลว่า : ไม่ละเอียด ไม่สุภาพ ไม่เรียบร้อย คนที่อบรมสั่งสอนให้เป็นคนสุภาพ เรียบร้อย อ่อนโยนไม่ได้ เรียก คนหยาบ ของไม่ละเอียด เรียก ของหยาบ.
  • หยาม
    แปลว่า : ไม่เอาดอก เรียก บ่้อาหยาม ไม่กินดอก เรียก บ่กินหยาม ไม่ไปดอก เรียก บ่ไปหยาม.
  • หย้าม
    แปลว่า : ย่าม เหิม ทะยาน ได้ใจ ชิน เคยได้ สิ่งใดที่เคยได้ก็อยากได้ เคยกินก็อยากกิน การอยากได้อยากกินนี้ เรียก ย่าม หย้าม ก็ว่า อย่างว่า ได้อย่าหย้าม บ่ได้อย่าหลาบ (ภาษิต).